preloader

08-1935-4607

pbnitico@ksc.th.com

หมวดหมู่: สาระน่ารู้

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ กฎหมายแรงงาน และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งทนายแรงงานเป็นคนเก็บเรื่องราว ฎีกาต่างๆ ไว้เพื่อรวมให้ท่านได้เรียนรู้และเข้าใจใน กฎหมายแรงงาน มากขึ้น

คณะกรรมการลูกจ้างตามสถานประกอบกิจการละ 1 คณะหรือคณะเดียว

ถาม : คณะกรรมการลูกจ้างตามสถานประกอบกิจการละ 1 คณะหรือคณะเดียว

ตามหนังสือกองนิติการ ที่ มท 1106/1136 ลงวันที่ 30 เมษายน 2530

ประเด็นข้อหารือ

โรงงานสุราบางยี่ขัน 1 (ตั้งอยู่ที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร) และโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 (ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี) ของบริษัท สุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) เป็นสถานประกอบกิจการ 2 สถานประกอบกิจการที่แยกกันออกไปตามนัยมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งสามารถจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้สถานประกอบกิจการละ 1 คณะ ตามประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 หรือไม่

สรุปขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีแรงงาน

1. กระบวนการพิจารณาคดีแรงงานใช้ระบบไต่สอน (ไม่ใช่ระบบกล่าวหา)

2. องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานมีลักษณะเป็นไตรภาคี
-ผู้พิพากษาจากข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
-ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง
-ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง

3. การฟ้องคดีแรงงานไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม เหมือนคดีแพ่งในศาลยุติธรรมทั่วไป

หากพนักงานคนใดมาทำงานสายเกินกว่าครึ่งชั่วโมง จะหักค่าจ้างครึ่งวันได้หรือไม่

บริษัทฯ ประกาศว่า หากพนักงานคนใดมาทำงานสายเกินกว่าครึ่งชั่วโมง จะหักค่าจ้างครึ่งวันและหากมาทำงานสายเกินกว่าครึ่งวัน จะไม่จ่ายค่าจ้างในวันนั้นสามารถทำได้หรือไม่

การหักค่าจ้างของลูกจ้าง นายจ้างจะกระทำได้เฉพาะที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานบัญญัติไว้ในมาตรา 76 เท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น หักเพื่อชำระภาษีเงินได้ ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานฯ ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นเงินประกัน เงินสะสมตามข้อตกลง โดยที่ลูกจ้างให้การตกลงยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร จากบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจนายจ้างในการลงโทษที่มาทำงานสายโดยการหักค่าจ้างเลย

บริษัทเรียกเก็บเงินประกันได้ทุกตำแหน่งหรือไม่

บริษัทเรียกเก็บเงินประกันได้ทุกตำแหน่งหรือไม่ หากเรียกเก็บเงินประกันได้จะเก็บได้เป็นเท่าใด

บริษัทฯ ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเก็บเงินประกันจากลูกจ้างได้เฉพาะลักษณะหรือสภาพของงานที่ลูกจ้างทำนั้นต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ อันได้แก่ งานสมุห์บัญชีงานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ

การจ้างแรงงานเด็กมีข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง

ข้อปฏิบัติสำหรับการจ้างแรงงานเด็กแบบสั้นๆเข้าใจง่าย มีดังนี้

1. ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุตำกว่า 15 ปีเข้าทำงานโดยเด็ดขาด แปลความได้ว่า สามารถจ้างเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ถือว่าไม่ใช่แรงงานเด็ก

2. นายจ้างต้องแจ้งการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เด็กออกจากงาน

3. นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง

ตารางเปรียบเทียบระหว่างสัญญาจ้างแรงงาน กับสัญญาจ้างทำของ

สัญญาจ้างแรงงาน

สัญญาจ้างทำของ

1.คู่สัญญา คือ นายจ้าง กับ ลูกจ้าง

1.คู่สัญญา คือ ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
2.ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมาด้วย

2.ผู้ประกอบกิจการไม่เป็นนายจ้างของลูกจ้าง ผู้รับเหมา

3.จัดหาลูกจ้างมาทำงานในส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจ (บริการลูกค้า / จำหน่ายสินค้า) ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ 3.จัดหาลูกจ้างมาทำงานที่มิได้อยู่ในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจของผู้ประกอบกิจการ วิธีแก้ไขคือ แยกไลน์ผลิตให้ชัดเจน ให้เจ้าหน้าที่ของผู้รับเหมาไปดูแลการผลิต และให้เจ้าหน้าที่ของผู้ว่าจ้างเป็นผู้ตรวจคุณภาพก่อนส่งงาน ทั้งนี้ต้องคุยกันให้ชัดเจน และต้องแยกสำนักงานของเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานไม่ให้ไปอยู่รวมกับ HR ของผู้ว่าจ้าง โดยแยกสถานที่ให้ชัดเจน หรือมีการเช่าสถานที่มีมิเตอร์ค่าไฟฟ้า ค่าประปา

หัวข้อ HOT HITZ ในการบรรยาย

หัวข้อที่กำลังฮิตในปัจจุบันนี้ ซึ่งเหมาะสมกับการอบรมทางด้านกฎหมายแรงงานกับชมรม สมาคมต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก รวมถึงบริษัททั่วไปเพื่อใช้ในการอบรมผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ต่อท่านในด้านความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายในการทำงานซึ่งท่านสามารถนำไปใช้งานได้จริง

1. ครบเครื่องกฎหมายแรงงานสำหรับนักบริหารงานบุคคลแบบมืออาชีพ
2. เทคนิคการสอบสวนทางวินัยและการลงโทษ
3. กลยุทธ์การจัดการกับพนักงานที่ชอบสร้างปัญหา

แนวทางการพิจารณา Outsourcing 69 ข้อ

1. ให้ดำเนินการจัดทำอะไร / ที่ไหน โดยดูผลสำเร็จของงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทน

2. ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับทางธุรกิจ

3. จัดพนักงานของผู้รับจ้างเข้าทำงานตามวัน / เวลาที่กำหนด

4. ลูกจ้างของผู้รับจ้าง ต้องมีสภาพการจ้างภายใต้กฎหมายแรงงานทุกประการ เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จ.ป.)

5. จำนวนลูกจ้างของผู้รับจ้างประจำวัน ไม่ต่ำกว่า 95%

เงินตามพระราชบัญญัติ

เงินตามพระราชบัญญัตินี้ 19 อย่าง

1. ค่าจ้าง (ม.5/41)
2. ค่าล่วงเวลา (ม.61/41 + ม.68/41)
3. ค่าทำงานในวันหยุด (ม.62/41)
4. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (ม.63/41)
5. ค่าชดเชย (ม.118/41)
6. ค่าชดเชยพิเศษ (ม.5/41 + ม.120/51 +ม.122/41)

ที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน

ที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน รับว่าต่างอรรถคดีทุกศาลทั่วราชอาณาจักร รับแก้ต่าง เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ทนายแรงงาน รับว่าความคดีแรงงาน ถามตอบปัญหากฏหมายแรงงาน รับเป็นที่ปรึกษาด้านแรงงาน เพราะคนทำงาน จึงควรรู้เล่ห์เหลี่ยมกฎหมาย ทนายความผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแรงงาน และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ฟ้องคดีละเมิดนายจ้าง ฟ้องเรียกเงินทดแทน ทนายฟ้องนายจ้าง ปรึกษาทนายคดีแรงงาน ทนายแรงงาน ให้คำปรึกษาด้าน กฎหมายแรงงาน ดังนั้น การว่าความในคดีแรงงาน ทนายความหรือนักกฎหมายต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในตัวบทกฎหมาย ต้องที่นี่ที่เดียว ที่ปรึกาากฎหมายแรงงาน ไพบูลย์ นิติ จำกัด ทนายแรงงาน ที่มีความเชียวชาญ ประสบการณ์กว่า 20 ปี ทั้งยังมีเปิดอบรมกฎหมายแรงงานอีกด้วย ทั้งยังสามารถดูฎีกาแรงงานมากมายที่นี่ที่เดียว