สัญญาจ้างแรงงาน

สัญญาจ้างทำของ

1.คู่สัญญา คือ นายจ้าง กับ ลูกจ้าง

1.คู่สัญญา คือ ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
2.ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมาด้วย

2.ผู้ประกอบกิจการไม่เป็นนายจ้างของลูกจ้าง ผู้รับเหมา

3.จัดหาลูกจ้างมาทำงานในส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจ (บริการลูกค้า / จำหน่ายสินค้า) ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ 3.จัดหาลูกจ้างมาทำงานที่มิได้อยู่ในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจของผู้ประกอบกิจการ วิธีแก้ไขคือ แยกไลน์ผลิตให้ชัดเจน ให้เจ้าหน้าที่ของผู้รับเหมาไปดูแลการผลิต และให้เจ้าหน้าที่ของผู้ว่าจ้างเป็นผู้ตรวจคุณภาพก่อนส่งงาน ทั้งนี้ต้องคุยกันให้ชัดเจน และต้องแยกสำนักงานของเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานไม่ให้ไปอยู่รวมกับ HR ของผู้ว่าจ้าง โดยแยกสถานที่ให้ชัดเจน หรือมีการเช่าสถานที่มีมิเตอร์ค่าไฟฟ้า ค่าประปา
4.จ่ายค่าจ้างตามวันเวลาทำงาน หรือตามระยะเวลาที่ตกลงกัน 4.เน้นจ่ายค่าจ้างตามผลสำเร็จของงาน หรือจ่ายตามสัดส่วนของผลสำเร็จตามที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า
5.กำหนดการสรรหาและเป็นผู้คัดเลือกพนักงาน 5.ผู้ว่าจ้างไม่เข้าไปมีส่วนในการสรรหา / คัดเลือกลูกจ้าง วิธีแก้ไข นำคุณสมบัติที่ผู้ว่าจ้างต้องการมากำหนดในการคัดเลือก
6.เป็นผู้กำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีวันหยุดพักผ่อนประจำปี 6.ผู้ว่าจ้างไม่มีการกำหนดวันหยุดให้ แต่ผู้รับจ้างกำหนดเอง วิธีแก้ไข นำประกาศวันหยุดของผู้ว่าจ้าง มาแก้ไขและเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่
7.เป็นผู้ควบคุมอนุมัติวันลาป่วย / ลากิจ / ลาต่างๆ 7.การลาต่างๆขึ้นกับบริษัท ผู้รับจ้างเป็นผู้อนุมัติการลา
8.กำหนดการทำงานล่วงเวลา และอนุมัติใบล่วงเวลา

8.ผู้รับจ้าง เป็นผู้จัดสรรการทำงานล่วงเวลาเองไม่เกี่ยวกับผู้ว่าจ้าง วิธีแก้ไข การอนุมัติการทำงานล่วงเวลาให้หัวหน้างานของผู้รับจ้างเป็นผู้อนุมัติ

9.มีการลงโทษทางวินัย และสั่งให้ปลดหรือเลิกจ้าง 9.การลงโทษทางวินัยไม่เกี่ยวกับผู้ว่าจ้าง วิธีแก้ไข หัวหน้างานของผู้รับจ้างเป็นผู้ลงโทษ ในกรณีผู้ว่าจ้าง ไม่ต้องการพนักงานให้ส่งตัวคืน ห้ามเลิกจ้างหรือปลดเอง
10.เป็นผู้ควบคุมและบังคับบัญชา 10.ผู้รับจ้างเป็นผู้ควบคุมปละสั่งการเองทั้งหมด
11.กฎระเบียบ / ข้อบังคับ ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับเกี่ยงกับการทำงานของบริษัทผู้ว่าจ้างกำหนดเท่านั้น 11.กฎระเบียบ / ข้อบังคับ ต้องใช้ของผู้รับจ้าง ไม่สามารถไปใช้กับผู้ว่าจ้าง วิธีแก้ไข นำระเบียบ / ข้อบังคับ ของผู้ว่าจ้างมาใส่เพิ่มเติม และให้เพิ่มเป็นระเบียบการทำงานของผู้รับจ้าง
12.สวัสดิการให้ใช้ร่วมกันได้ 12.ไปใช้สวัสดิการร่วมกันไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าเป็นนายจ้าง วิธีแก้ไข ให้ทำสัญญาแนบท้ายการขอใช้สิทธิด้วย เช่น รถรับส่ง ห้องพยาบาล ห้องอาหาร ห้องน้ำ
13.เลิกจ้างโดยมิได้กระทำควมผิดตามมาตรา 119 ของพรบ.คุ้มครองแรงงาน ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าผู้รับเหมาค่าแรงไม่จ่าย นายจ้างเสมือนเป็นนายจ้างร่วมกัน ต้องจ่ายแทนผู้รับเหมาแรงงาน

13.เลิกจ้างเป็นหน้าที่ของบริษัทผู้รับจ้างโดยตรง เพราะไม่สามารถไปเกี่ยวข้องกับผู้ว่าจ้างได้ เพราะผู้ว่าจ้างมิใช่นายจ้างของพนักงานผู้รับจ้าง

14.ลูกจ้างต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น 14.ผู้รับจ้าง มีฐานะเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้
15.นายจ้างมีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาลูกจ้าง 15.ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาผู้รับจ้าง
16.ลูกจ้างได้รับค่าจ้างแม้ยังไม่มีผลสำเร็จของงาน 16.ผู้รับจ้างได้สินจ้างเมื่อทำงานจนผลสำเร็จ
17.กรณีลูกจ้างละเมิดต่อบุคคลภายนอกจากงานทางการจ้าง นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง 17.กรณีผู้รับจ้างละเมิดต่อบุคคลภายนอกผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
18.นายจ้างเป็นผู้จัดหาเครื่องมือให้แก่ลูกจ้าง 18.ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาเครื่องมือมาเอง
19.ค่าจ้างต้องจ่ายเป็น”เงิน”เท่านั้น