1. กระบวนการพิจารณาคดีแรงงานใช้ระบบไต่สอน (ไม่ใช่ระบบกล่าวหา)

2. องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานมีลักษณะเป็นไตรภาคี
-ผู้พิพากษาจากข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
-ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง
-ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง

3. การฟ้องคดีแรงงานไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม เหมือนคดีแพ่งในศาลยุติธรรมทั่วไป

4. คดีแรงงานเข้าสู่การพิจารณาได้ 2 ทาง
-ผู้เสียหายปรึกษาและมอบหมายแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทน
-ผู้เสียหายเข้าพบปรึกษาขอคำแนะนำการฟ้องคดีกับนิติกรของศาลแรงงาน

5. ประเด็นปัญหาที่มักนำมาฟ้องร้องเรียกความเป็นธรรมต่อศาลแรงงาน
-ฟ้องเรียกค่าชดเชยหรือค่าชดเชยพิเศษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.118,ม.122
-ฟ้องเรียกเงินค้ำประกันการทำงานจากนายจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ม.10
-ฟ้องเรียกร้องค่าจ้าง,ค่าล่วงเวลา,ค่าทำงานในวันหยุด,ค่าล่วงเวลาในวันหยุดพร้อมดอกเบี้ย ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ม.9 และมาตรา 70
-ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.125
-ฟ้องให้ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม123,ม.125
-ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.17,ป.พ.พ. ม.582,ม.583
-ฟ้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ม.10,ม.12
-ร้องขออนุญาตลงโทษหรือเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ม.52
-ฟ้องขอให้เพิกถอนหรือให้ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสันพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ม.121,ม.124
-ฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ม.49

6. เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน และศาลรับฟ้องแล้ว
-คดีจะถูกส่งไปสู่ศูนย์ไกล่เกลี่ย เพื่อนัดวันพิจารณาไกล่เกลี่ยก่อน
-หากไม่สามารถเจรจาเพื่อหาข้อยุติได้ คดีจะถูกส่งไปสู่กระบวนการพิจารณาของศาลโดยองค์คณะผู้พิพากษา
-องค์คณะผู้พิพากษาจะไกล่เกลี่ยอีกครั้ง
-หากยังไม่สามารถบรรลุข้อยุติ ศาลจะพิจารณากำหนดประเด็นและนัดสืบพยาน ซึ่งศาลอาจจะกำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วแต่กรณี

7. ถึงวันพิจารณาคดี ถ้าฝ่ายจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลจะพิจารณาคดีของโจทก์ โดยให้โจทก์สืบพยานไปฝ่าย
เดียว แล้วมีคำพิพากษา

8. ถึงวันพิจารณาคดี ถ้าฝ่ายโจทก์ทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

9. คู่ความอาจจะยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้นำคดีเข้าสู่การพิจารณาใหม่ภายใน 7 วัน หากมีเหตุมีผลที่ศาลรับฟังได้
ศาลจะอนุญาต ให้นำคดีกลับมาพิจารณาใหม่

10. ก่อนคดีจะมีคำพิพากษา คู่ความสามารถเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อหาข้อยุติ หรือคู่ความสามารถยื่นคำร้องต่อศาล
ให้โอนคดี ไปพิจารณาศาลแรงงานอื่น หากศาลที่จะโอนไปยอมรับ หากไม่ยอมรับต้องส่งให้อธิบดีผู้พิพากษา
ศาลแรงงานกลางเป็นผู้พิจารณา การพิจารณาของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางถือเป็นที่สุด

11. การสืบพยานคดีแรงงาน ศาลจะเป็นผู้ซักถามพยาน หากทนายความทั้งสองฝ่ายประสงค์จะถามพยานต้องขอ
และได้รับอนุญาตจากศาลก่อน

12. ผู้พิพากษาสมทบ หากมีข้อสงสัยบางประเด็นและต้องการจะซักถามพยาน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงสมบูรณ์ก็ขออนุญาตต่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนั้น

13. คดีแรงงานเป็นคดีแพ่ง แต่บางประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง
แรงงาน ม.144,ม.159 เช่น
-การค้างจ่ายค่าจ้าง
-การค้างชำระเงินค่าประกันการทำงาน
-การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน(และไม่ฟ้องเพิกถอนคำสั่ง)

14. หากมีคำพิพากษาแล้วไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา อาจถูกบังคับคดีด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน

15. การอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลแรงงาน สามารถอุทธรณ์ได้เฉพาะในข้อกฎหมายเท่านั้น ถ้าเป็น
ประเด็นข้อเท็จจริง ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาภายใน 15 วัน หลังทราบคำพิพากษา
(พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ม.54,ม.58)