1. ให้ดำเนินการจัดทำอะไร / ที่ไหน โดยดูผลสำเร็จของงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทน

2. ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับทางธุรกิจ

3. จัดพนักงานของผู้รับจ้างเข้าทำงานตามวัน / เวลาที่กำหนด

4. ลูกจ้างของผู้รับจ้าง ต้องมีสภาพการจ้างภายใต้กฎหมายแรงงานทุกประการ เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จ.ป.)

5. จำนวนลูกจ้างของผู้รับจ้างประจำวัน ไม่ต่ำกว่า 95%

6. การจัดอบรมของพนักงานเป็นหน้าที่ของ …………………………………

7. การรับสมัครงานเป็นหน้าที่ของ …………………………… (และการทำสัญญาจ้างแรงงาน)

8. ชดใช้ค่าเสียหายแก่นิติบุคคล หรือ บุคคล ที่เกิดจากผู้รับจ้างและลูกจ้างของผู้รับจ้าง

9. จัดหาหัวหน้างาน 1 คน ต่อลูกจ้างของผู้รับจ้างจำนวน ……………………… คน

10. หักภาษี

11. ต้องนำส่งกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กองทุนคนพิการ ส่งภาษีรายได้ของพนักงาน

12. การติดต่อกับผู้รับจ้าง สถานที่ โทรศัพท์ มือถือ โทรสารคอมพิวเตอร์ แฟ็กซ์ ชื่อบุคคลที่เจาะจงให้ติดต่อ

13. สัมภาระ อุปกรณ์ ใครจัดหามา เช่น เครื่องบันทึกเวลาทำงาน โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเขียน

14. ระบุในสัญญาว่า ผู้รับจ้างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับจ้าง

15. เครื่องแบบตามข้อกำหนด

16. รับเหมาช่วงไม่ได้

17. สัญญาใช้บังคับนาน ……………….. เดือน

18. ลงชื่อ + ประทับตราทุกหน้า ทั้ง 2 ฝ่าย

19. บอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดในสัญญา ด้วยเหตุผิดสัญญา

20. บอกเลิกสัญญาเมื่อครบสัญญา ต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน

21. ลูกจ้างของผู้รับเหมาทำงานดี เมื่อครบสัญญามีสิทธิคัดเลือกไหม

22. ตรวจดูหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ ว่าผู้ใดมีสิทธิทำสัญญา

23. หากมีการถูกฟ้องล้มละลาย , พิทักษ์ทรัพย์ , มีหนี้สินล้นพ้นตัว , ศาลสั่งยึดอายัดทรัพย์ มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายไหม

24. หากข้อความใด ๆ ในสัญญานี้ตกเป็นโมฆะ สัญญาในข้อความอื่น ๆ คงมีผลสมบูรณ์

25. หากมีการแก้ไขสัญญาในอนาคต ต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน

26. กรณีปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

27. สัญญาทำไว้เหมือนกัน เพียง 2 ฉบับ

28. กำหนดเวลาจ่ายค่าตอบแทนทุกวันที่ ……..

29. สวัสดิการที่ผู้รับจ้าง ต้องจัดให้มีตามสัญญา มี ………………….อย่าง เงื่อนไขตามที่กำหนด

30. จ่ายค่าวันหยุดประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี , ค่าลาป่วย , ลาคลอด , ฯลฯ ตามกฎหมาย

31. การหักเงินค่าตอบแทนไว้ 5% เป็นประกันไว้ 120 วัน ดีไหม

32. ลูกจ้างของผู้รับจ้างทำให้เกิดความเสียหาย ใครจะรับผิดชอบ

33. ระยะเวลา และจำนวนพนักงานที่สรรหา

34. ตรวจสุขภาพ

35. การปฐมนิเทศก์

36. สถานที่ทำงานของ เจ้าหน้าที่ SUBCONTRACT

37. ค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา

38. เมื่อมีข้อพิพาทแรงงาน

39. การประเมินผล การให้คุณให้โทษ การบังคับบัญชา

40. ทะเบียนลูกจ้าง

41. ข้อบังคับติดประกาศ

42. ผู้รับเหมาเป็นผู้จ่ายค่าจ้างเอง

43. ผู้รับเหมาจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้าง

44. หนังสือนำส่งลูกจ้างมาทำงาน หรือหนังสือส่งลูกจ้างมาทดแทน

45. การพิจารณา การลาทุกชนิดเป็นหน้าที่ของ …………………

46. ผู้ว่าจ้างมีหนังสือแจ้งความผิดไปยังผู้รับจ้าง

47. หากทราบว่าจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ให้กับลูกจ้างของผู้รับจ้างไม่ถูกต้อง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิยึดหน่วงเงิน ค่าตอบแทนในงวดต่อ ๆ ไป

48. การตรวจร่างกาย (บังคับตรวจ) ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของ ลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547

49. กรณี ผู้รับจ้าง มีสหภาพแรงงานฯ หรือ มีปัญหาแรงงานเกิดขึ้น ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที

50. จำนวนลูกจ้างรับเหมาแรงงานอย่าเกินร้อยละ 15 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของบริษัทรับเหมาแรงงาน

51. ตรวจข้อบังคับของบริษัท ผู้รับเหมาค่าแรง ในหมวดวันทำงาน เสาร์เว้นเสาร์ เวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี เหมือนของเราไหม

52. ทำงานลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ควรจะแบ่งแยกคน แยกงานออกจากกัน วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ อายุการทำงาน ฝีมือในการทำงาน

53. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฎิบัติ

1. ควรออกคำสั่งตาม ม.14/1(2551) + ระบุว่าให้ H R ปฎิบัติตามกฎหมาย เพื่อเลี่ยง ม. 158/41 และ ม. 144/1(2551)

2. ส่วนสวัสดิการของลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงให้มีเงื่อนไข 5 W

54. สวัสดิการที่เป็นธรรม ต่างกับ ม.15/41 และ ม.53/41

55. รับเหมาค่าแรงดีอย่างไร

1. เพิ่มและลดจำนวนแรงงาน

2. ภาระการจ้างน้อย เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ฯลฯ

3. ไม่ต้องสอบสวน ลงโทษ

4. ไม่รับผิดชอบความขัดแย้ง ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาท หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย

5. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ

6. มีโอกาสเลือกคนดีจากลูกจ้างผู้รับเหมาค่าแรง

ฯลฯ

56. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ต้องจ่ายผ่านบริษัทรับเหมาค่าแรง หากนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างผู้รับเหมาโดยตรง สรรพากรจะไม่ยอมให้เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท

57. อ้างงบดุลของผู้รับเหมาค่าแรงกำไรน้อย รถรับส่งจึงไม่ติดแอร์

58. ปัญหาของการจ้างผู้รับเหมาค่าแรง

1. ค่าใช้จ่ายสูง คิดจากค่าจ้าง + 28%

2. ต้องพิจารณาว่างานส่วนใดควรจะใช้การจ้างเหมาค่าแรง

3. หาแรงงานมาทดแทนไม่ได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ

4. พิจารณาสัญญาจ้างเหมาค่าแรง ต้องมีสาระสำคัญอย่างไรบ้าง

5. ไม่สามารถบังคับบัญชาโดยตรง

6. การให้คุณให้โทษ ห้ามยุ่งเกี่ยว

7. กำกับดูแลให้ผู้รับเหมาค่าแรงปฎิบัติให้ถูกกฎหมาย คร. , รส. , สปส. , จป. เป็นต้น

8. การพัฒนาฝีมือแรงงาน การฝึกอบรม ห้ามยุ่งเกี่ยว

9. การสรรหาผู้รับเหมาค่าแรงที่มีคุณภาพ มีแหล่งที่หาน้อย

10. ปัญหาการตีความของ ม. 11/1 (2551) จะเป็นที่ยุติและมีมาตรฐานนานเท่าใด เฝ้าติดตามใกล้ชิด

59. ประกาศแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบโดยตรง เพื่อดูแลให้ถูกต้องตาม ม.11/1 (2551)

60. ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงจะเป็นสมาชิกสหภาพของพนักงานตามสัญญาจ้างโดยตรงไม่ได้ ม.95/2518

61. ให้สวัสดิการที่มีมูลค่าเป็นเงิน เช่น ค่าครองชีพ ตีค่าเป็นเงินแล้วโอนเข้าเงินเดือน เท่ากับไม่มีสวัสดิการ ค่าครองชีพอีกต่อไป เพื่อเลี่ยง ม.11/1 วรรค 2 (2551) ดีไหม

62. ทำสัญญาจ้างกับผู้รับเหมาค่าแรง โดยมีกำหนดระยะเวลาจ้างแน่นอน ให้ครบสัญญา 15 ธ.ค. จะได้ไม่ต้องจ่ายโบนัสปลายปี

63. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และ มาตรา 335

มาตรา ๓๓๔

ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

มาตรา ๓๓๕ ผู้ใดลักทรัพย์

(1) ในเวลากลางคืน

(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือ ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชน โดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใดๆ

(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ

(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทาง คนเข้าหรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้

(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่น เพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้

(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน

(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป

(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการ สาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ

(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือสาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ

(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์

(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง

(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงหน้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้

64. หากลูกจ้าง Sub ขอสวัสดิการเพิ่มมากขึ้น + นายจ้างควรยกเลิกสัญญา Sub ดีไหม

65. ตั้งบริษัทรับเหมาค่าแรงเป็นบริษัทลูกดีไหม

66. กรณีใช้ มาตรา 75/51 ทำอย่างไร

67. ทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 17 ว.1/2551 ดีกว่าทำสัญญาจ้างตามมาตรา 11/1 /2551(มีข้อดีข้อเสียดังนี้.ข้อ21 เพิ่มเติม)

68. ใครจ่ายค่าแรงเมื่อเกิดม็อบ , นัดหยุดงาน , ปิดงาน งดจ้าง , ผละงาน หรือ ม.75/51

69. การนับอายุงานของลูกจ้าง Subcontract