ถาม : คณะกรรมการลูกจ้างตามสถานประกอบกิจการละ 1 คณะหรือคณะเดียว

ตามหนังสือกองนิติการ ที่ มท 1106/1136 ลงวันที่ 30 เมษายน 2530

ประเด็นข้อหารือ

โรงงานสุราบางยี่ขัน 1 (ตั้งอยู่ที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร) และโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 (ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี) ของบริษัท สุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) เป็นสถานประกอบกิจการ 2 สถานประกอบกิจการที่แยกกันออกไปตามนัยมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งสามารถจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้สถานประกอบกิจการละ 1 คณะ ตามประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 หรือไม่

ข้อเท็จจริง

1. บริษัท สุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) มีโรงงานผลิตสุราอยู่ 2 โรงงาน คือ โรงงานสุราบางยี่ขัน 1 ตั้งอยู่ที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีลูกจ้าง 2,003 คน และโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีลูกจ้าง 339 คน

2. ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในโรงงานบางยี่ขัน 1 มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน 2 สหภาพ คือ สหภาพแรงงานบางยี่ขัน และสหภาพแรงงานแม่โขง และเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2529 สหภาพแรงงานทั้งสองได้จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างขึ้นมา 1 คณะ จำนวน 15 คน

3. ต่อมาลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 ได้จัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมา 1 สหภาพ คือสหภาพแรงงานบางยี่ขัน 2 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2529 และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 สหภาพแรงงานบางยี่ขัน 2 ได้ใช้สิทธิแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างขึ้นมาอีก 1 คณะจำนวน 9 คน

4. บริษัท สุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) หารือจังหวัดปทุมธานี สรุปได้ว่า

4.1 บริษัทฯมีลูกจ้างทำงานในโรงงานทั้ง 2 แห่ง จำนวน 2,342 คน จะมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียง 15 คน ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2518 แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นในโรงงานทั้ง 2 แห่ง มีจำนวน 24 คน เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น จำนวนลูกจ้างของบริษัทฯ จะต้องถือตามมาตรา 46 หรือไม่ เพียงไร

4.2 คณะกรรมการลูกจ้างในโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 จำนวน 9 คน ที่สหภาพแรงงานสุราบางยี่ขัน 2 แต่งตั้ง ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

หรือไม่ หากไม่ถูกต้องบริษัทฯควรดำเนินการต่อไปอย่างไร