คำพิพากษาฎีกาที่ 4758/2556

 

บริษัทสเป็คซีล จำกัด     โจทก์

 นายสุทิน  ใจสนุก ที่  1

นางศิริ  พึ่งเถื่อน  ที่  2     จำเลย

เรื่อง 1. ผู้ค้ำทำสัญญาค้ำประกันการทำงานให้จำเลยที่ 1  จำเลยที่ 1  ลาออกจากงาน  แล้วไปทำงานกับคู่แข่งทางการค้า ผู้ค้ำ จะต้องร่วมรับผิดหรือไม่ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 4758/2556

บริษัทสเป็คซีล จำกัด     โจทก์

 นายสุทิน  ใจสนุก ที่  1

นางศิริ  พึ่งเถื่อน  ที่  2     จำเลย

เรื่อง 1. ผู้ค้ำทำสัญญาค้ำประกันการทำงานให้จำเลยที่ 1  จำเลยที่ 1  ลาออกจากงาน  แล้วไปทำงานกับคู่แข่งทางการค้า ผู้ค้ำ จะต้องร่วมรับผิดหรือไม่ 

        1.  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายนำเข้าและผลิตสินค้าประเภทซีลโอริ่งเครื่องจักรกลต่างๆ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 จำเลยที่ 1       เป็นลูกจ้างของโจทก์   ในตำแหน่งพนักงานขายและตกลงกันว่าจะไม่ประกอบอาชีพหรือเข้าปฏิบัติงานกับหน่วยงานใดที่ประกอบกิจการประเภทเดียวกันกับโจทก์ภายใน  

5  ปี นับจากวันสิ้นสุดสภาพการเป็นพนักงานของโจทก์  วันที่  18  ตุลาคม  2548  จำเลยที่  1  ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยที่  2 ทำสัญญาค้ำประกัน

การทำงานของจำเลยที่  1  ระหว่างที่จำเลยที่  1  เป็นลูกจ้างโจทก์จำเลยที่  1  ยักยอกทรัพย์ของโจทก์  เมื่อวันที่  1  กรกฎาคม  2549  จำเลยที่ 1 ไปเป็นลูกจ้างบริษัท

ที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าประเภทซีลโอริ่ง  ให้แก่ลูกค้าในกรุงเทพ  อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้าง  ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้

            2.  จำเลยที่  2  ให้การว่า  จำเลยที่  2  ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่  1  เท่านั้น  โดยไม่ได้ค้ำประกันความเสียหายจากการผิดสัญญาเข้าทำงานในกิจการประเภทเดียวกับโจทก์หรือเปิดเผยข้อมูลความลับหลังจากที่จำเลยที่  1  พ้นสภาพลูกจ้างแล้ว  ภายหลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว  จำเลยที่  2  จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

            3.   ศาลแรงงานกลางพิพากษา  ให้จำเลยที่ 1  ชำระเงิน  206,398.99  บาทแก่โจทก์   โดยให้จำเลยที่  2  ร่วมรับผิดกับจำเลยที่  1  อย่างลูกหนี้ร่วมจำนวน  201,398.99  บาท  พร้อมดอกเบี้ย

             4    ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า   จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิด กรณีที่จำเลยที่  1  ผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่  เห็นว่าสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความใดระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่  2  ยอมผูกพัน  ร่วมรับผิดชอบหากจำเลยที่  1  เข้าปฏิบัติงานกับบริษัทหรือหน่วยงานอื่นที่ประกอบกิจการประเภทเดียวกัน กับโจทก์หรือเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของโจทก์ภายในระยะเวลา  5  ปี  ความรับผิดของจำเลยที่  2    ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวข้างต้นจึงจำกัดเฉพาะความเสียหายใดๆ ที่จำเลยที่  1  ก่อขึ้นในระหว่างเป็นลูกจ้างของโจทก์เท่านั้น  หาผูกพันถึงความเสียหายกรณีที่จำเลยที่  1  ไปเป็นลูกจ้างบริษัทอื่น ที่ประกอบกิจการประเภทเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของโจทก์ในภายหลังไม่   อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน  

  



 

รวบรวมโดยนายไพบูลย์  ธรรมสถิตย์มั่น 

 

www.paiboonniti.com