คำพิพากษาฎีกาที่ 12821-12824/2553
นายยุทธนา จิตติยพล ที่ 1 กับพวกรวม 4 คนโจทก์
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย จำเลย

เรื่อง1. เดิมมีสภาพการทำงาน 7.30 16.30 น. แต่ผ่อนปรนทำงานเพียง 7.30 -15.30 น.
2. แม้ดั้งเดิมเมื่อทำงานหลัง 15.30 น. ก็จ่ายค่าล่วงเวลาให้
3. ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างให้ประโยชน์ ไม่เป็นสภาพการจ้างที่ต้องปฏิบัติตลอดไป
4. ต่อมานายจ้างยกเลิกเวลาทำงานเป็น 7.30 16.30 น. ตามเดิมจะได้ไหม

1.จำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้าง ระหว่างเวลา 7.30 – 15.30 น. จำเลยออกประกาศ
เปลี่ยนแปลงเวลาทำงานจากเดิม เป็นเวลา 7.30 – 16.30 น. ประกาศเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานดังกล่าวเป็นเหตุให้ลูกจ้างทำงานเพิ่มขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นลูกจ้างมิได้ยินยอม

2. ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำไว้กับสหภาพแรงงานสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
พ.ศ.2524 กำหนดชั่วโมงการทำงานอาจเป็น 40 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ก็ได้ เวลาการทำงานที่แท้จริงขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาของแต่ละแผนกจะเป็นผู้กำหนดเพื่อให้เหมาะสมแก่ลักษณะงาน ในทางปฏิบัติอาจมีการผ่อนปรนให้ทำงานไม่ถึง 40 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำเลยไม่เคยทำสัญญาจ้างกับโจทก์ทั้งสี่ว่าให้เข้าทำงานเวลา 7.30 15.30 น.
ศาลพิพากษายกฟ้อง

3.จำเลยกับสหภาพแรงงานสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ตกลงชั่วโมงการทำงานต่อหนึ่งสัปดาห์ไว้
แน่นอนแล้ว คือ 40 ชั่วโมงหรือ 48 ชั่วโมง แม้ผู้บังคับบัญชากำหนดให้โจทก์ทั้งสี่ทำงานระหว่างเวลา 7.30 15.30 น. ซึ่งน้อยกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง รวมทั้งโจทก์ทั้งสี่เคยได้รับค่าล่วงเวลา หากทำงานหลังเวลา 15.30 น. ก็ถือเป็นกรณีที่จำเลยให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างของจำเลย จึงไม่เป็นสภาพการจ้างอันมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตลอดไป จำเลยย่อมยกเลิกการให้ประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ การที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานใหม่ โจทก์ทั้งสี่จะทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตรงตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้นการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานจากเวลา 7.30 15.30 น.มาเป็น 7.30 16.30 น. จึงไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่มีเหตุเพิกถอนประกาศคำสั่งของจำเลยที่ให้เปลี่ยนเวลาทำงานใหม่เป็น 7.30 16.30 น. ตามที่ฟ้องมา
พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)
www.paiboonniti.com