เรื่อง  แม้ลูกจ้างลงรายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องในขณะที่นายจ้างเลิกจ้าง แต่ลูกจ้างย่อมมีอิสระในการตัดสินใจว่าจะรับเงินตามสัญญาและสละสิทธิเรียกร้องอื่นใดอันมีอีกต่อไป หรือจะไม่รับเงินดังกล่าวแล้วไปฟ้องร้องตามสิทธิในภายหลัง ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ขัดต่อกฎหมาย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัส

  1. คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จ่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2558 จำเลยเลิกจ้างโจทก์แต่ไม่จ่ายโบนัสตามประกาศ ขอบังคับให้จำเลยจ่ายโบนัสเป็นเงิน 73,883 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าการจ่ายโบนัสเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่การจ่ายโบนัสตามธรรมเนียมปฏิบัติของธุรกิจ ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยสงวนสิทธิจ่ายเงินโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือน และโจทก์ได้ลงรายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องเงินใด ๆ ในหนังสือเลิกจ้าง

2. ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างเมื่อคำนวณแล้วในอัตราร้อยละ 5 อยู่ในเกณฑ์ระดับ B มีสิทธิได้รับโบนัส ส่วนที่ผู้บริหารสูงสุดของจำเลยมรสิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกรดพนักงานได้ทุกกรณีตาม ข้อ 5 ของข้าตกลง จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตามความพึงพอใจว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจ้างพนักงานคนใดก็จะให้เกรด E เพื่อปลดออกซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์การประเมินโยชอบจึงเป็นข้อตกลงที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควร อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตรา 14/1 กำหนดให้ใช้บังคับข้อ 5 เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี โดยต้องประเมินตามความสามารถของโจทก์ซึ่งอยู่ในเกรด B ส่วนที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบในหนังซื้อเลิกจ้างโดยสละสิทธิเรียกร้องนั้น โจทก์อ้างว่าหากไม่ลงลายมือชื่อ จำเลยจะไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเฉย ประกอบกับได้ความจากผู้รับมอบอำนาจจำเลยว่าไม่ว่าจะลงรายมือชื่อหรือไม่จำเลยก็ไม่จ่ายโบนัสให้ และจำเลยมาแจ้งเกรดแก่พนักงานตามข้อตกลง แสดงว่าจะเลยมีเจตนาไม่จ่ายโบนัสแก่พนักงานที่เลิกจ้างทุกคนโดยอาศัยข้อตกลงที่ได้เปรียบ พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินโบนัส 73,883 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์

3. ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือการยกเลิกสัญญาจ้าง โดยระบุว่าจำเลยขอยกเลิกสัญญาจ้างและตกลงจ่ายสินจ้างแทนชนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย และตอนท้ายของหนังสือระบุว่าโจทก์ขอสละสิทธิเรียกร้องใด ๆ อันอาจมีอีกต่อไปทั้งสิ้น ดังนี้ แม้โจทก์ลงรายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์มีสิทธิอิสระในการตัดสินใจว่าจะรับเงินตามสัญญาและสละสิทธิเรียกร้องอื่นใดอันอาจมีอีกต่อปหรือจะไม่รับเงินดังกล่าวแล้วไปฟ้องเรียกร้องเงินต่าง ๆ ตามที่โจทก์มีสิทธิตามกฎหมายภายหลัง ทั้งตามกฎหมายแรงงานที่ไม่ได้บัญญัติบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง ข้อตกลงดังกว่ามีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งไม่ขัดต่อตามกฎหมายและความเรียบร้องของประชาชน มีผลบังคับและผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสจากจำเลย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї

รวบรวมโดยนายไพบูลย์  ธรรมสถิตย์มั่น ฎีกาแรงงาน
www.paiboonniti.com

Code C.96