คำพิพากษาฎีกาที่ 15914-15917/2553

บริษัท ไก่สด เซนทาโก จำกัด ผู้ร้อง

นางกุลนิภา พันตน ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ผู้คัดค้าน

เรื่อง 1. เดิมมีเวลาทำงาน 8.00 17.00 น. แต่เปลี่ยนเป็น 9.00-18.00 น. ถือว่าเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างไหม
2. ปิดทางเข้า-ออกเลิกจ้างได้ไหม

1.ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 เป็นกรรมการลูกจ้าง
วันที่ 22 สิงหาคม 2548 เป็นข้อพิพาทที่ไม่สามารถตกลงกันได้ และวันที่ 26 สิงหาคม 2548 มีการเจรจาเป็นข้อพิพาทแรงงานตกลงให้สมาชิกสหภาพแรงงานที่ประสงค์จะกลับเข้าทำงานตามบัญชีรายชื่อที่สหภาพแรงงานไก่สดเซนทาโกยื่นให้ผู้ร้องรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานพร้อมกันในวันที่ 29 สิงหาคม 2548 เวลา 9 นาฬิกา ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานในวันดังกล่าวไม่ทัน ผู้ร้องจะรับเข้าทำงานในวันที่ 30 สิงหาคม 2548 จนถึงเวลา 12 นาฬิกา แล้วทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกลับไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานโดยใช้เวลาประมาณ 30 วัน วันที่ 29 สิงหาคม 2548 ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ได้มารายงานตัวกับผู้ร้อง และผู้ร้องได้มอบหมายงานทำในแผนกผลิต 2 โดยมีเวลาเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา เวลาพักกลางวัน 13 ถึง 14 นาฬิกา และให้เลิกงานเวลา 18 นาฬิกา ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ไม่เข้าทำงานตามที่ผู้ร้องได้กำหนดไว้ โดยเข้าทำงานก่อนเวลาที่กำหนดและเลิกงานก่อนเวลาที่กำหนดและเวลาพักไม่ตรงกับเวลาที่ผู้ร้องได้กำหนดไว้ จึงเป็นการขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละทิ้งหน้าที่จงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ผู้ร้องได้เลิกจ้างพนักงานแผนกผลิต 2 จำนวน 102 คน และผู้ร้องได้ลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ต่อมาเวลา 19 นาฬิกา ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10ได้ร่วมกันยุยงชักชวน สนับสนุนและได้เข้าร่วมกับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทำการปิดทางเข้าออกที่หน้าโรงงานของผู้ร้องและกักขังหน่วงเหนี่ยวพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในและลูกค้าที่มารับสินค้า จึงขออนุญาตศาลลงโทษผู้คัดค้าน

2.ผู้คัดค้านให้การว่า สหภาพแรงงานไก่สดเซนทาโก ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพ
การจ้าง และเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงานใช้สิทธินัดหยุดงานและผู้ร้องใช้สิทธิปิดงาน ต่อมาผู้ร้องประกาศยกเลิกการปิดงานและให้สมาชิกสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงาน โดยมีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานเดิม แต่สหภาพแรงงานไก่สดเซนทาโกไม่ตกลงที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาทำงานถือว่าเป็นสภาพการจ้างและมิได้ยุยงปิดทางเข้าออก พฤติการณ์ยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือเจตนากระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรง

3.ศาลแรงงานพิพากษาให้อนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้าน

4.มีการตกลงการทำงานกับลูกจ้างและผู้คัดค้านแล้ว พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)

www.paiboonniti.com