When:
03/12/2021 @ 12:22 am – 1:22 am
2021-03-12T00:22:00+07:00
2021-03-12T01:22:00+07:00

 

                                                                                                                                       คำพิพากษาฎีกา 1196-1218/2546

นางสุน             กับพวกรวม   23    คน                        โจทก์

บริษัทหลักทรัพย์  จำกัด (มหาชน)                              จำเลย

เรื่อง      1.  ลาออกมีผลเมื่อใด

              2.  ลาออกแล้วจะใช้สิทธิเรียกร้องวันหยุดพักผ่อนประจำปีอีกไม่ได้

              3.   ลาออกแล้วได้ค่านายหน้าไหม ม.76

 

  1. โจทก์ทั้งยี่สิบสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งยี่สิบสามเคยเป็นลูกจ้างของจำเลย (1)โดยโจทก์ทั้งยี่สิบสามได้ยื่นใบลาออกล่วงหน้าให้ไว้แก่จำเลย (2)แต่จำเลยกลับอนุมัติให้ใบลาออกดังกล่าวมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างในวันที่ยื่นใบลาออกทันที ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ทุกคนลาออกก่อนกำหนดที่ระบุไว้ในใบลาออก ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออก โจทก์ทั้งยี่สิบสามพร้อมจะทำงานให้จำเลยถึงวันที่กำหนดในใบลาออก การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามออกก่อนกำหนดจึงเป็นการผิดสัญญา

จ้างแรงงาน (3)โจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงขอเรียกค่าเสียหายนับตั้งแต่  วันที่ยื่นใบลาออกจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออก  และตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย   ยังได้กำหนดให้พนักงานลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละ 20 วันทำงาน ซึ่งหากใช้สิทธิไม่ครบ ก็สามารถนำที่เหลือมาสมทบในปีถัดไปได้อีก ก่อนที่จำเลยจะอนุมัติให้โจทก์ลาออก โจทก์ยังคงมีวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2544 เหลืออีก (4)จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว นอกจากนี้ในการทำงานจำเลยตกลงจะให้(5)ค่านายหน้าจากการขายแก่โจทก์ที่ 10 ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรวม  ค่านายหน้าจากการขายทำได้ แต่จำเลยไม่ยอมจ่าย

  1. จำเลยทั้งยี่สิบสามสำนวนให้การว่า  โจทก์ทั้งยี่สิบสามไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเสียหายตามฟ้อง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามฟ้อง   เพราะจำเลยคิดคำนวณเงินจาก วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่เหลืออยู่หักกลบลบหนี้กับหนี้สินหรือค่าเสียหายต่าง ๆ  จากนั้นได้จ่ายเงินให้เป็นการเรียบร้อยแล้ว (6)จำเลยมีระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการลาออกของพนักงานเป็นการเฉพาะ กำหนดให้พนักงานที่ลาออกพ้นสภาพการเป็นพนักงานในวันยื่นใบลาออกเลยทันที โจทก์ทั้งยี่สิบสามไม่มีสิทธิ(7)เรียกเงินค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ(8)ค่านายหน้าจากการขายส่วนที่เหลือ  เพราะยอดจำนวนเงินจากการขายของพนักงานขายซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ   มีความผิดพลาดด้านตัวเลขและเกิดความเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง
  2. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว (9)พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งยี่สิบสามสำนวน
  3. ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า การบอกเลิกสัญญาจ้าง ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541   นำบทบัญญัติมาตรา 582  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบัญญัติไว้ใน(10)มาตรา 17 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน   คู่สัญญาย่อมไม่มีสิทธิที่จะตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างเป็นอย่างอื่นได้   คดีนี้แม้จำเลยกับโจทก์ทั้งยี่สิบสามจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามระเบียบและ(11)ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  ระบุว่า  สำหรับพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลข้อมูลความลับของบริษัทฯ / และหรือลูกค้า  โดยทางปฏิบัติแล้ว บริษัทฯ  จะอนุมัติให้พ้นสภาพในทันที ที่ยื่นหนังสือลาออก ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจ(12)ของกรรมการผู้จัดการขึ้นไปที่จะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไปก็ตาม   แต่ระเบียบดังกล่าวเป็น(13)ข้อตกลงที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 17 วรรคสอง บังคับแทน  ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสามแสดงความประสงค์ให้การลาออกเป็นผลเมื่อพ้นกำหนด  30 วัน นับแต่วันยื่นใบลาออก แต่จำเลยกลับไม่ยอมปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว   ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามได้รับความเสียหาย   จำเลยจึงต้องจ่าย(14)ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบสาม

  1. ตามอุทธรณ์ข้อสองของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่ เห็นว่า (15)เมื่อโจทก์ได้ยื่นใบลาออกในปี  2544   มิได้ถูกจำเลยเลิกจ้าง   จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามส่วนสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67
  2.  ตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่านายหน้าจากการขายหรือไม่ เห็นว่า  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541(16)มาตรา 76 บัญญัติว่า  ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด   เพื่อชำระหนี้ที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้างเว้นแต่   การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายข้างต้น คดีนี้(17)โจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า (ค่าคอมมิชชั่น)  จากการขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน โดยระบุไว้ในข้อ 2 ตอนท้ายว่า ความผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหายของเจ้าหน้าที่การตลาดในความดูแลของหัวหน้าส่วน จะนำมาหักออกจากค่าตอบแทนของหัวหน้าส่วนที่ได้รับจากทีม   ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธินำค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาด  ในส่วนความรับผิดชอบของโจทก์มาหักออกจากค่านายหน้า (ค่าคอมมิชชั่น) ได้รับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น       มิใช่เป็นการนำค่าจ้างที่โจทก์ได้รับมาหักเพื่อชำระหนี้ จึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541 มาตรา 76

♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠

                                                                                                      รวบรวมโดยนายไพบูลย์  ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/น)

 

 

                                                                                                           คำพิพากษาฎีกาที่     3453/2549
          นายสมบุญ                                                                                           โจทก์

บริษัทไปร  จำกัด    ที่    1    กับพวก                                                         จำเลย

เรื่อง      1.     ดื่มสุราในเวลางาน     ไม่ก่อความเสียหาย     ไม่ร้ายแรง

2.    ร้ายแรงพิสูจน์อย่างไร

3.   ดื่มสุราขณะทำงานผิดร้ายแรงไหม

                1.โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้าทำงานวันที่  27  มีนาคม  2527  ตำแหน่งสุดท้ายนายไปรษณีย์  7 อัตรา  เงินเดือนขั้น 18,550  บาท    เมื่อวันที่  20  กรกฎาคม  2544    ขณะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่    ปฏิบัติงานตั้งแต่  10  นาฬิกา  ถึง 17.30  นาฬิกา  จำเลยทั้งสองกล่าวหาโจทก์ว่า  ระหว่างเวลา  16.30  นาฬิกาถึง  17   นาฬิกา  โจทก์ได้ออกจากที่ทำการไปดื่มสุรา   เมื่อกลับเข้ามาโจทก์ได้กล่าววาจาหยาบคาย  และข่มขู่อาฆาตหัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา  (1)คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลยที่  2  แต่งตั้งมีมติว่า โจทก์กระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา    แต่โจทก์ไม่เคยกระทำผิดระเบียบวินัยมาก่อน  ลดโทษลงเป็นลดขั้นเงินเดือน 1ขั้นตามคำสั่งจำเลยที่ 5173/2545(2)โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย  ต่อมาคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้มีมติให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์   และเห็นว่าโทษที่โจทก์ได้รับน้อยเกินไป(3)มีมติให้เพิ่มโทษจากลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น  เป็นโทษให้ออกจากงาน  ตามคำสั่งจำเลยที่  51238/2545  โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา  การที่จำเลยทั้งสองมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน  จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  จำเลยทั้งสองต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม  หากไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ จำเลยทั้งสองต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย  สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  ค่าเสียหาย  เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  1. จำเลยทั้งสองให้การว่า   โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง  (4)โดยวันที่ 20   กรกฎาคม  2544  เวลา  16.30  นาฬิกา  ถึง  17  นาฬิกา  โจทก์ได้ออกจากที่ทำการไปรษณีย์ไปดื่มสุรา  หัวหน้าได้ให้เจ้าหน้าที่ไปตามโจทก์กลับเข้าที่ทำการและว่ากล่าวตักเตือน  (5)โจทก์ไม่พอใจและได้พูดจาหยาบคาย  ข่มขู่  อาฆาตและฆ่าหัวหน้า  จำเลยที่  1  โดยให้ออกจากงาน     เนื่องจากโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง     การให้โจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (6) โจทก์ไม่มีสิทธิขอกลับเข้าทำงานกับจำเลย   ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า   และค่าเสียหาย   ขอให้ยกฟ้อง
  2. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว(7)พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และค่าจ้างอัตราไม่ต่ำกว่าเดิม(8)โดยให้นับอายุ)งานต่อเนื่อง และให้จำเลยที่   1(9)จ่ายค่าเสียหาย แก่โจทก์    เดือนละ  10,000   บาท   นับแต่วันที่  30  กรกฎาคม  2545  จนกว่าจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน     คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
  3. จำเลยที่  1  อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา  ข้อบังคับการสื่อสารแห่งประเทศไทยฉบับที่  3  ว่าด้วยการบรรจุแต่งตั้ง  ฯลฯ  พ.ศ.  2520  ตามเอกสารหมาย  ล.16  ข้อ  64  จะกำหนดว่าพนักงานและลูกจ้างผู้ใดดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (10) แต่ตามข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมีว่า  โจทก์ออกไปดื่มสุราเพียงเล็กน้อยนอกที่ทำการใน(11)ขณะที่ใกล้หมดเวลาการทำงานของโจทก์แล้ว    เหลือแต่เพียงรอเวลาทำหน้าที่กรรมการปิดตู้นิรภัยเท่านั้น (12)ไม่มีอาการมึนเมาสุรา   (13)โจทก์มิได้กล่าวคำขู่อาฆาตผู้บังคับบัญชา (14) เพียงแต่โต้เถียงกันเล็กน้อยเท่านั้น  (15)ไม่ได้ทำให้งานในหน้าที่เสียหาย  แต่อย่างใด ซึ่งการจะพิจารณาว่าการกระทำผิดใดจะถือเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นราย ๆ  ไป   หาใช่ว่าเมื่อดื่มสุราแล้วถึงแม้จะดื่มเพียงเล็กน้อยก็เป็นความผิดร้ายแรงทันที (16) การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง  ดังนั้น  การลงโทษโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ  69   ที่กำหนดว่า  พนักงานและลูกจ้างผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยัง  ไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง    ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์   ตัดเงินเดือน    ตัดเงินค่าจ้าง    ลดขั้นเงินเดือนหรือลดค่าจ้างตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมแก่ความผิดเท่านั้น  ไม่มีกรณีต้องให้ออกจากงานแต่อย่างใด   การที่จำเลยที่  1    มีคำสั่งลงโทษโดยให้โจทก์ออกจากงาน   (17)จึงเป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับในการปฏิบัติงานของจำเลยที่  1  เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

  1.    พิพากษายืน

♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠ ♠

รวบรวมโดยนายไพบูลย์    ธรรมสถิตย์มั่น  (บ.1/15)