คำพิพากษาฎีกาที่ 8995/2554

บริษัทศูนย์การแพทย์ไทย จำกัด(มหาชน) โจทก์

สำนักงานประกันสังคม ที่ 1 กับพวกรวม 14 คน จำเลย

เรื่อง ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ ประจำโรงพยาบาลของโจทก์ ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างกัน

1. โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่ 9 มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินสมทบเพิ่มเติมต่อกองทุนประกันสังคม จำนวน 9,239,300.67 บาท และชำระเงินสมทบเพิ่มเติมต่อกองทุนประกันสังคมเงินทดแทน จำนวน 92,703.45 บาท โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์กองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม คณะกรรมการอุทธรณ์มีมติตามคำวินิจฉัยที่ 1220/1549 ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กับแพทย์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้าง ลูกจ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ประกอบการสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ให้สถานพยาบาลมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการโดยต้องมีผู้ดำเนินการคนหนึ่งควบคุมและรับผิดชอบ ในการดำเนินการสถานพยาบาล โดยมิให้แพทย์ประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขา ชั้นหรือแผนที่โจทก์ได้รับอนุญาต ต้องควบคุมแพทย์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม และโจทก์ต้องจัดให้มีสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เวชภัณฑ์ แสดงรายละเอียดในที่เปิดเผย รายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ ในสถานพยาบาล รวมทั้งจัดทำเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล รวมทั้งจัดทำเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล โจทก์กับแพทย์จึง ไม่มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้าง ลูกจ้างแต่อย่างใด

2. จำเลยให้การว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ที่ 1220/2549 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุผลที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง(คำวินิจฉัย) ของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่ 1220/2549

4. จำเลยทั้งสิบสี่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

5. ศาลฎีกา เห็นว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์มีข้อตกลงใช้คลินิกเพื่อประกอบโรคศิลปะ โดยแบ่งรายได้ 80 ต่อ 20, 70 ต่อ 30 และ 50 ต่อ 50 วันแพทย์ไม่มาทำงานก็จะไม่มีรายได้ แพทย์ไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของโจทก์ การลากิจหรือการลาป่วยก็ไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แม้เจ็บป่วยเกิน 3 วัน ก็ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ และแพทย์ไม่มีสวัสดิการหรือเงินโบนัส เงินค่าตรวจรักษาเป็นเงินที่แพทย์ได้รับจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา ซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงมิใช่นายจ้าง ลูกจ้างคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่ 1220/2549 จึงไม่ชอบ

6. ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นฟ้องด้วย พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)

www.paiboonniti.com

1. โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่ 9 มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินสมทบเพิ่มเติมต่อกองทุนประกันสังคม จำนวน 9,239,300.67 บาท และชำระเงินสมทบเพิ่มเติมต่อกองทุนประกันสังคมเงินทดแทน จำนวน 92,703.45 บาท โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์กองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม คณะกรรมการอุทธรณ์มีมติตามคำวินิจฉัยที่ 1220/1549 ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กับแพทย์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้าง ลูกจ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ประกอบการสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ให้สถานพยาบาลมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการโดยต้องมีผู้ดำเนินการคนหนึ่งควบคุมและรับผิดชอบ ในการดำเนินการสถานพยาบาล โดยมิให้แพทย์ประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขา ชั้นหรือแผนที่โจทก์ได้รับอนุญาต ต้องควบคุมแพทย์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม และโจทก์ต้องจัดให้มีสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เวชภัณฑ์ แสดงรายละเอียดในที่เปิดเผย รายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ ในสถานพยาบาล รวมทั้งจัดทำเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล รวมทั้งจัดทำเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล โจทก์กับแพทย์จึง ไม่มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้าง ลูกจ้างแต่อย่างใด

2. จำเลยให้การว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ที่ 1220/2549 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุผลที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง(คำวินิจฉัย) ของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่ 1220/2549

4. จำเลยทั้งสิบสี่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

5. ศาลฎีกา เห็นว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์มีข้อตกลงใช้คลินิกเพื่อประกอบโรคศิลปะ โดยแบ่งรายได้ 80 ต่อ 20, 70 ต่อ 30 และ 50 ต่อ 50 วันแพทย์ไม่มาทำงานก็จะไม่มีรายได้ แพทย์ไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของโจทก์ การลากิจหรือการลาป่วยก็ไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แม้เจ็บป่วยเกิน 3 วัน ก็ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ และแพทย์ไม่มีสวัสดิการหรือเงินโบนัส เงินค่าตรวจรักษาเป็นเงินที่แพทย์ได้รับจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา ซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงมิใช่นายจ้าง ลูกจ้างคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่ 1220/2549 จึงไม่ชอบ

6. ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นฟ้องด้วย พิพากษายืน

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (.1/43)

www.paiboonniti.com