คำพิพากษาฎีกาที่ 11610/2554

นายพรชัย พุทธานุรักษ์ โจทก์

บริษัทบีเอสเอช โฮม แอ็พพลายแอ็นซ์ จำกัด จำเลย

เรื่อง 1. โจทก์ประพฤติมิชอบในเรื่องศีลธรรม โดยกระทำล่วงเกินทางเพศด้วยวาจา เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงหรือไม่ เป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
2. พฤติกรรมนั้นต้องมีผลให้รู้สึกอับอาย
3. ผิดระเบียบข้อบังคับอย่างไร
4. ล่วงเกินทางเพศคืออะไร
5. หนังสือเลิกจ้างต้องเขียนอย่างไร

1.โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2545 จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง ครั้งสุดท้ายในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงินและบริหาร เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ประสงค์จะกลับเข้าทำงานกับจำเลย ขอให้พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม และใช้ค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานต่อเนื่อง หากจำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ให้ใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

2.จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสามารถให้คุณให้โทษต่อพนักงาน ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ คุกคามทางเพศต่อลูกจ้างหญิงหลายครั้งหลายหนด้วยการพูดจาเกี้ยวพาราสี ใช้ถ้อยคำลามกอนาจาร ทาบทามชักชวนพนักงานหญิงผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับตน เป็นการประพฤติผิดศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงามของสังคม เช่น น.ส.รุ่งทิพย์ ทำงานล่วงเวลาอยู่คนเดียว โจทก์พูดว่า อยู่คนเดียวปิดประตูตีแมวดีกว่า และพูดว่า อยากดูดนมจัง พร้อมกับทำปากเป็นเสียง จ๊วบ จ๊วบ และเมื่อพนักงานหญิงเสนอเอกสารให้โจทก์ลงนามโจทก์มักจ้องมองบริเวณหน้าอกและพูดเกี่ยวกับเรื่องเพศจนทุกคนอึดอัด ฯลฯ การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

3.ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง

4.ศาลฎีกาปรึกษาแล้วระหว่างโจทก์มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องเพศ การกระทำของโจทก์มีผลทำให้พนักงานหญิงมีความรู้สึกอับอายรู้สึกหวาดกลัวไม่กล้าเข้าไปในห้องทำงานของโจทก์หรือไม่ต้องการอยู่ทำงานในช่วงเย็น วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

5.พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)
www.paiboonniti.com