คำพิพากษาฎีกาที่  2226/2545

นางชูชื่น              สุรไพรสณฑ์  โจทก์

บริษัทแสนสิริ  จำกัด (มหาชน)         จำเลย

เรื่อง1. เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้าง

2. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีภายในเดือน กุมภาพันธ์ของปีถัดไป หากไม่ใช้สิทธิถือว่าสละสิทธิไหม

3. วิธีคำนวณค่าบอกกล่าวล่วงหน้าคิดอย่างไร

คำพิพากษาฎีกาที่  2226/2545

นางชูชื่น              สุรไพรสณฑ์  โจทก์

บริษัทแสนสิริ  จำกัด (มหาชน) จำเลย

เรื่อง1. เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้าง

2. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีภายในเดือน กุมภาพันธ์ของปีถัดไป หากไม่ใช้สิทธิถือว่าสละสิทธิไหม

3. วิธีคำนวณค่าบอกกล่าวล่วงหน้าคิดอย่างไร

1.โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย  จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์  โดยอ้างว่าต้องปรับผังองค์กร เป็นการกล่าวอ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และเพียงพอ         ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับ (1) จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย (2) ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี (3)สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (4)ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง     ไม่เป็นธรรม (5) พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

2. จำเลยให้การว่า จำเลยจำเป็นต้องปรับผังองค์กรและลดค่าใช้จ่าย จำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยได้แจ้งเลิกจ้างโจทก์  โดยจ่ายค่าชดเชย  สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  ค่าจ้างส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี  โจทก์ไม้ได้ใช้สิทธิของปี 2542 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 จึงถือว่าสิทธิดังกล่าวหมดไปแล้ว  ขอให้ยกฟ้อง

 

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่าย(1)สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 15,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันฟ้อง             จ่าย (2)ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 3,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันฟ้อง(3)ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง   ไม่เป็นธรรม แก่โจทก์ 810,000 บาท

4. จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

5. ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของโจทก์เพราะจำเลยจ่ายครบถ้วนแล้ว คือบอกเลิกจ้าง 15 กันยายน 2543 และให้มีผลเลิกจ้าง16 กันยายน 2543 แต่กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน โดยจ่ายค่าจ้าง 16 กันยายน ถึง 25 ตุลาคม 2543 แล้ว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา    ศาลแรงงานกลาง