คำพิพากษาฎีกาที่  15187/2556

เรืออากาศตรีแก้ว พูลทอง                โจทก์

บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด                   จำเลย

เรื่อง1. เงื่อนไขการจ่ายโบนัสที่ดีเป็นอย่างไร

2. หากพ้นจากการเป็นพนักงานก่อนวันจ่ายโบนัส จะได้โบนัสไหม

3. หากนายจ้างผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยเมื่อไร และคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าไร

4. ทำไมต้องจ่ายโบนัส

คำพิพากษาฎีกาที่  15187/2556

เรืออากาศตรีแก้ว พูลทองโจทก์

บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด                           จำเลย

เรื่อง1. เงื่อนไขการจ่ายโบนัสที่ดีเป็นอย่างไร

2. หากพ้นจากการเป็นพนักงานก่อนวันจ่ายโบนัส จะได้โบนัสไหม

3. หากนายจ้างผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยเมื่อไร และคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าไร

4. ทำไมต้องจ่ายโบนัส

 

1.  โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงาน ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม ได้รับค่าจ้างในอัตรา

เดือนละ 61,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน  ระหว่างทำงานโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากจำเลย 3 เดือน แต่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพียง 122,000 บาท

แล้วไม่ยอมจ่ายเงินโบนัสส่วนที่เหลือ 61,000 บาท แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินโบนัส

2. จำเลยให้การว่า โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลย ในระหว่างทำงาน จำเลยออกประกาศ สำนักผู้อำนวยการใหญ่ พิเศษที่ 1/2550 เรื่อง การจ่ายโบนัส และการปรับเงิน

เดือน ตกลงจ่ายเงินโบนัสให้พนักงาน  พร้อมกับเงินเดือนเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2551โดยมีเจตนารมณ์จ่ายเงินโบนัสให้เฉพาะพนักงานรายที่ยังคงมีสถานภาพการเป็น

พนักงาน ณ วันจ่ายเงินโบนัส เมื่อโจทก์พ้นสภาพจาก การเป็นพนักงาของจำเลยตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2551 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสในส่วนของงวดการจ่าย

ภายหลังวันที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินโบนัส 61,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

4. ศาลฎีกา เห็นว่า คดีมีปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสในปี 2550 จำนวน 61,000 บาท หรือไม่ เห็นว่า การจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานนั้นนอกจากจะเป็นการจ่ายเงินเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างตั้งใจทำงานแก่นายจ้างแล้วยังเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างอยู่ปฏิบัติงานกับนายจ้างในระยะยาวด้วย เมื่อศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงเป็นการยุติว่า จำเลยเคยปฏิบัติต่อพนักงานโดยไม่จ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานที่ลาออกก่อนถึงงวดการจ่ายเงินโบนัสในงวดการจ่ายนั้น โดยเมื่อพิจารณาประกาศสำนักผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลย พิเศษที่ 1/2550 เรื่องการจ่ายโบนัส จากประกาศดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานนั้น  นอกจากพนักงานจะต้องทำงานกับจำเลยครบ 6 เดือน เป็นอย่างต่ำแล้ว พนักงานดังกล่าวจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานจำเลยตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสในงวดการจ่ายเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2551 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสในงวดเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2551 แก่โจทก์

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง