ถาม : สหภาพแรงงานจะแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้ไหม

ตามหนังสือกองนิติการ ที่ มท 1106/3177 ลงวันที่ 23 กันยายน 2529

ประเด็นข้อหารือ

1. การแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างโดยสหภาพแรงงานเป็นการดำเนินการอันอาจกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของสมาชิกส่วนรวมซึ่งจะต้องผ่านมติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หรือไม่

2. โรงกลั่นน้ำมัน บริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด จังหวัดชลบุรี มีอำนาจในการจัดการควบคุมบังคับบัญชาพนักงานในหน่วยงานนั้นได้โดยเด็ดขาดหรือไม่

ข้อเท็จจริง

1. สหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย แจ้งการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างบางส่วนในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2529 จำนวน 6 คน

เนื่องจากสหภาพแรงงานมีสมาชิกเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของบริษัท เอสโซ่ประเทศไทย จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานค

2. วันที่ 10 มิถุนายน 2529 สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี บันทึกแจ้งกองแรงงานสัมพันธ์ว่าเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 สหภาพแรงงานเอสโซ่ประเทศไทย

แต่งตั้งกรรมการลูกจ้างประจำเขตจังหวัดชลบุรี (โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด อำเภอศรีราชา) จำนวน 7 คน (ทั้งคณะ)

3. บริษัทฯมีหนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2529 ทักท้วงการแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างทั้ง 2 คณะว่าเป็นการจัดตั้งโดยไม่ถูกต้องเพราะ

3.1 สหภาพแรงงานใช้สิทธิแต่งตั้งโดยฝ่าฝืนข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

3.2 บริษัทฯเป็นสถานประกอบกิจการเดียว เป็นของนายจ้างคนเดียวกันหมดโดยได้จดทะเบียนพาณิชย์เพียงแห่งเดียว แม่มีหน่วยงานกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ แต่หน่วยงานเหล่านั้นต้องขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาและการบริหารงานของคณะกรรมการบริหารบริษัทชุดเดียวกันที่กรุงเทพฯ ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในโรงงานกลั่นน้ำมันของบริษัทฯที่จังหวัดชลบุรี อีกคณะหนึ่งแยกจากกรุงเทพฯ