คำพิพากษาที่ 4550/2554

บริษัทชุ้น จิวเวลรี่ จำกัด โจทก์

นางสาวภัทรีญา บุญแล ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน จำเลย

เรื่อง 1. ลูกจ้างทุจริตต่อนายจ้าง ปลอมแปลงเอกสารในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
เป็นการละเมิดต่อนายจ้าง ทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างสามารถเรียกชำระจากผู้ค้ำประกันของลูกจ้าง ในฐานะลูกหนี้ร่วมได้หรือไม่
2. กรณีลูกจ้างมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งและหน้าที่ หลังจากที่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมอีกหรือไม่
3. ลูกจ้างละเมิดนานกว่า 1 ปี คดีขาดอายุความไหม
4. ควรระบุสัญญาค้ำประกันว่า หากมีการเปลี่ยนหน้าที่ลูกจ้างผู้ค้ำต้องรับผิดชอบด้วย

1. โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกจัดซื้อพัสดุ/ทรัพย์สินเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์ตรวจพบว่าระหว่างเดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนสิงหาคม 2547 จำเลยที่ 1 ได้ออกใบสั่งซื้อสินค้าปลอมให้ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ และเมื่อผู้จำหน่ายสินค้าได้ส่งมอบสินค้าตามใบสั่งซื้อปลอมดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ลงนามเป็นผู้รับสินค้าเหล่านั้นด้วยตนเอง และนำสินค้าเหล่านั้นไปเป็นของตนเอง จำเลยที่ 1 กระทำการเช่นนี้ซ้ำ ๆ กัน จำนวน 34 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายที่บริษัทโจทก์ได้รับทั้งสิ้น 1,643,040 บาท การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งที่รับผิดชอบ ทำการปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและยักยอกทรัพย์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานในฐานะลูกหนี้ร่วม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้จำนวน 1,643,040 บาท ให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

2. จำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

3. จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับว่าเคยทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จริง แต่มิได้ค้ำประกันในการทำงานของจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกจัดซื้อพัสดุ/ทรัพย์สิน จำเลยที่ 2 ได้ยกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว จำเลยที่ 3 ขณะเข้าทำสัญญายังเป็นผู้เยาว์ไม่บรรลุนิติภาวะ สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้จึงตกเป็นโมฆะแล้ว และโจทก์ทราบถึงเหตุการณ์ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปีแล้ว แต่โจทก์หาได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีไม่ คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

4. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 1,643,040 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยลำ 7.5 ต่อปี จากยอดเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์คำขอนอกจากนั้นให้ยก

5. ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เห็นว่า สัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอกสารหมาย จ.4 และระบุว่า ในระหว่างที่พนักงานทำงานกับบริษัทฯ หากได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่างๆ เช่น เปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่การงานในความรับผิดชอบ…ข้าพเจ้าถือว่าได้รับทราบโดยปริยายและยังคงผูกพันร่วมรับผิดชอบโดยสมบูรณ์และยินยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อบริษัททุกประการ จากข้อความในสัญญาดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า แม้จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่การงานในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบมากขึ้นหลังจากทำสัญญาค้ำประกันแล้วก็ตามจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ยังคงผูกพันร่วมผิดชอบกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

6. พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)

www.paiboonniti.com

คำพิพากษาที่ 4550/2554

บริษัทชุ้น จิวเวลรี่ จำกัด โจทก์

นางสาวภัทรีญา บุญแล ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน จำเลย

เรื่อง 1. ลูกจ้างทุจริตต่อนายจ้าง ปลอมแปลงเอกสารในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

เป็นการละเมิดต่อนายจ้าง ทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างสามารถเรียกชำระจากผู้ค้ำประกันของลูกจ้าง ในฐานะลูกหนี้ร่วมได้หรือไม่

2. กรณีลูกจ้างมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งและหน้าที่ หลังจากที่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมอีกหรือไม่

3. ลูกจ้างละเมิดนานกว่า 1 ปี คดีขาดอายุความไหม

4. ควรระบุสัญญาค้ำประกันว่า หากมีการเปลี่ยนหน้าที่ลูกจ้างผู้ค้ำต้องรับผิดชอบด้วย