คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2547

บริษัท นิวไลท์ไทยยามาไก จำกัด โจทก์

นายพนมพร ชวนอุดม ฯ จำเลย

เรื่อง ฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง

1. โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมที่ 1-6 เป็นลูกจ้างของโจทก์ นางรุ่งทิพย์พาบุคคลภายนอกเข้าไปในโรงงานของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตหลายครั้ง กับนายคมสัน นายโกศล นายธารา นายสายชลและนายฉัตรมงคลดื่มสุราจนมึนเมาแล้วใช้ขวดสุราปาที่บริเวณประตูรั้วโรงงานของโจทก์ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย โจทก์จึงเลิกจ้างบุคคลทั้งหกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ต่อมาบุคคลทั้งหกได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้เพิกถอนคำสั่ง

2. จ ำเลยให้การว่า คำสั่งของจำเลยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง จำเลยร่วมทั้งหกให้การว่า ไม่ได้กระทำผิดตามที่โจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนของโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้จำเลยร่วมทั้งหกจำเลยและจำเลยร่วมทั้งหกอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

4. ศาลฎีกา ประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยร่วมทั้งหกแต่เพียงว่าการที่จำเลยร่วมที่ ๑ ชักนำนายสมบุญกับพวกเข้าไปดูการผลิตสินค้าในโรงงานของโจทก์และใช้เครื่องมือในโรงงานของโจทก์ทดสอบวัสดุที่จำเลยร่วมที่ ๑ สั่งซื้อมาจากบริษัทอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์นั้นเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กรณีร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.๔ ข้อ ๖๕ ระบุว่า ไม่นำสิ่งของใด ๆ ไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาได้ความว่า จำเลยร่วมที่ ๑ ชักนำนายสมบุญกับพวกเข้าไปดูการผลิตในโรงงานของโจทก์และได้ใช้เครื่องมือในโรงงานของโจทก์ทดสอบวัสดุที่จำเลยร่วมที่ ๑ สั่งซื้อมาจากบริษัทอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ถึงแม้นายสมบุญเป็นสามีจำเลยร่วมที่ ๑ แต่นายสมบุญกับพวกก็ไม่ใช่ลูกจ้างผู้ทำงานในโรงงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิดูกระบวนการผลิตในโรงงานของโจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ ๑ ที่ชักนำนายสมบุญกับพวกเข้าไปดูการผลิตนอกจากจะเป็นการทำให้กรรมวิธีการผลิตซึ่งเป็นความลับทางการค้าของโจทก์รั่วไหลแล้ว จำเลยร่วมที่ ๑ และนายสมบุญกับพวกยังได้ใช้เครื่องมือในโรงงานของโจทก์ทดสอบวัสดุที่จำเลยร่วมที่ ๑ สั่งซื้อมาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์อีก อันเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ข้อ ๖๕ ซึ่งข้อ ๘๖ ระบุว่าเป็นความผิดร้ายแรง การกระทำของจำเลยร่วมที่ ๑

จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมไม่ต้องตักเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

5. พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/16)
www.paiboonniti.com