คำพิพากษาฎีกาที่ 4105/2554

นายสานิตร โกศลวรรธนะ โดยนางสาวพจนีย์ โกศลวรรธนะ โจทก์

สำนักงานประกันสังคม จำเลย

เรื่อง บุตรฟ้องศาลเยาวชนขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก่อนคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย จึงมีสิทธิรับบำเหน็จชราภาพแทนผู้เป็นพ่อ

1. โจทก์ฟ้องว่านายสานิตร เป็นลูกจ้างบริษัทนำเกียรติ จำกัดเป็นผู้ประกันตนโดยจ่ายเงินสมทบประกันสังคม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 ผู้ประกันตนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในช่องท้อง โจทก์เป็นบุตรของนายสานิตร ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ สำนักงานปฏิเสธการจ่าย โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาจำเลยมีคำวินิจฉัยที่ 977-972/2548 ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ โจทก์ไม่เห็นด้วยขอศาลเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยและให้โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

2. จำเลยให้การว่า โจทก์มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนในขณะที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต จึงไม่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนในฐานะทายาทของผู้ประกันตน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์และนางสาวนันตพร ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งว่าโจทก์และนางสาวนันตพร เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสานิตร ผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อมาทราบคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 แล้ว วันที่ 16 ธันวาคม 2547 โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยวินิจฉัยว่าผู้ประกันตนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 โจทก์และนางสาวนันตพร เป็นบุตรของผู้ประกันตนที่เกิดจากภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนขณะที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557 รายละเอียดปรากฏตามคำวินิจฉัยที่ 977-978/2548 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 วินิจฉัยว่าโจทก์ได้เรียกร้องและขวนขวายขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษารับรองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน ก่อนที่จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพแก่ทายาทผู้มีสิทธิอื่นไปจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจำเลยจะปฏิเสธที่จะจ่ายบำเหน็จชราภาพแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทชั้นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 77 จัตวา ส่วนที่นางสาวนันตพร แม้ไม่ได้ร่วมเป็นโจทก์แต่ศาลแรงงานกลางเห็นควรกำหนดให้คำพิพากษานี้มีผลผูกพันนางสาวนันตพร ซึ่งมีประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีด้วย

3. ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้แก้ไขคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ 977-978/2548 ของคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะส่วนที่ปฏิเสธการจ่ายบำเหน็จชราภาพแก่โจทก์และนางสาวนันตพร

4. ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพตสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 โจทก์จะยังไม่มีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสานิตรที่จะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) แต่ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์และนางสาวนันตพร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสานิตร ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจึงยังคงมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด คือนับแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 อันเป็นเวลาก่อนการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายจ้าง ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใด ซึ่งไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อันเป็นกระบวนพิจารณาชั้นเจ้าพนักงานที่ยังไม่เป็นที่สุด สิทธิของโจทก์ที่จะขอรับบำเหน็จชราภาพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายในฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจึงสมบูรณ์ก่อนคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ปฏิเสธสิทธิของโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ 977-978/2548 ของคณะกรรมการอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ปฏิเสธการจ่ายบำเหน็จชราภาพแก่โจทก์และนางสาวนันตพรจึงชอบแล้วอุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น

5. พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)

www.paiboonniti.com

1. โจทก์ฟ้องว่านายสานิตร เป็นลูกจ้างบริษัทนำเกียรติ จำกัด

เป็นผู้ประกันตนโดยจ่ายเงินสมทบประกันสังคม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 ผู้ประกันตนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในช่องท้อง โจทก์เป็นบุตรของนายสานิตร ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ สำนักงานปฏิเสธการจ่าย โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาจำเลยมีคำวินิจฉัยที่ 977-972/2548 ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ โจทก์ไม่เห็นด้วยขอศาลเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยและให้โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

2. จำเลยให้การว่า โจทก์มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนในขณะที่

ผู้ประกันตนเสียชีวิต จึงไม่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนในฐานะทายาทของผู้ประกันตน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์และนางสาวนันตพร ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งว่าโจทก์และนางสาวนันตพร เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสานิตร ผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อมาทราบคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 แล้ว วันที่ 16 ธันวาคม 2547 โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยวินิจฉัยว่าผู้ประกันตนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 โจทก์และนางสาวนันตพร เป็นบุตรของผู้ประกันตนที่เกิดจากภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนขณะที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557 รายละเอียดปรากฏตามคำวินิจฉัยที่ 977-978/2548 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 วินิจฉัยว่าโจทก์ได้เรียกร้องและขวนขวายขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษารับรองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน ก่อนที่จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพแก่ทายาทผู้มีสิทธิอื่นไปจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจำเลยจะปฏิเสธที่จะจ่ายบำเหน็จชราภาพแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทชั้นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 77 จัตวา ส่วนที่นางสาวนันตพร แม้ไม่ได้ร่วมเป็นโจทก์แต่ศาลแรงงานกลางเห็นควรกำหนดให้คำพิพากษานี้มีผลผูกพันนางสาวนันตพร ซึ่งมีประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีด้วย

3. ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้แก้ไขคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ 977-978/2548 ของ

คณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะส่วนที่ปฏิเสธการจ่ายบำเหน็จชราภาพแก่โจทก์และนางสาวนันตพร

4. ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพตสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 โจทก์จะยังไม่มีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสานิตรที่จะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) แต่ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์และนางสาวนันตพร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสานิตร ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจึงยังคงมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด คือนับแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 อันเป็นเวลาก่อนการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายจ้าง ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใด ซึ่งไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อันเป็นกระบวนพิจารณาชั้นเจ้าพนักงานที่ยังไม่เป็นที่สุด สิทธิของโจทก์ที่จะขอรับบำเหน็จชราภาพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายในฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจึงสมบูรณ์ก่อนคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ปฏิเสธสิทธิของโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ 977-978/2548 ของคณะกรรมการอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ปฏิเสธการจ่ายบำเหน็จชราภาพแก่โจทก์และนางสาวนันตพรจึงชอบแล้วอุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น

5. พิพากษายืน

............

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (.1/43)

www.paiboonniti.com