คำพิพากษาที่ 5016 / 2554

นายพัชริศ จักรายุธ โจทก์

บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) จำเลย

เรื่อง 1. จำเลยมีคำสั่งให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว เนื่องจากโจทก์ยักยอกเงินไป ต่อมาโจทก์นำเงินมาคืน และขอให้จำเลยไม่ดำเนินคดีอาญา และโจทก์ขอเขียนใบลาออก โจทก์จะมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยหรือไม่
2. สัญญาจ้างระงับไปเมื่อใด
3. นายจ้างจะดำเนินคดีอาญามีอายุความเท่าไหร่
4. นายจ้างเลิกจ้างผิดพลาดมีกี่วิธี
4.1. ค่าจ้างค้างจ่าย ม.70+144
4.2. ใบผ่านงาน ปพพ.586
4.3 คำสั่งเลิกจ้างถ้าอ้างยักยอกก็หมิ่นประมาท ต้องกระทำผิดม.119(1)
5. นายจ้างจะแจ้งออก สปส.1-09 อย่างไร
6. ลูกจ้างเอาเงินมาคืนแล้วไม่ให้ดำเนินคดีอาญาควรเขียนสัญญาประนีประนอมอย่างไร
7. สิทธิประโยชน์ในประกันสังคม ลูกจ้างจะได้รับอย่างไร
8. เมื่อยักยอกถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้วันหยุดพักผ่อนประจำปีไหม
9. เมื่อยักยอกถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมไหม

1. โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนมาตรฐาน จำเลย
เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

2. จำเลยให้การว่า โจทก์เบียดบังเงินจำเลยจำนวน 40,000 บาท โจทก์นำเงินจำนวน
40,000 บาท มาคืนและขอให้จำเลยไม่ดำเนินคดีอาญา โดยจะขอลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยไม่ดำเนินคดีอาญา ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

4. ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วภายหลังโจทก์ลงนามในหนังสือขอลาออกตามเอกสารหมาย ล.6 จะมีผลให้การเลิกจ้างของจำเลยก่อนหน้านี้สิ้นผลผูกพันหรือไม่ เห็นว่าการทำหนังสือขอลาออกตามเอกสารหมาย ล.6 เนื่องด้วยหลังจากจำเลยมีมติให้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 แล้วจำเลยทราบเรื่องที่โจทก์ในระหว่างยังเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดทางอาญายักยอกเงินของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงเจรจาตกลงกันว่าจำเลยจะไม่ดำเนินคดีอาญากับโจทก์ส่วนโจทก์ทำหนังสือขอลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วถือว่าสัญญาจ้างแรงงานระงับสิ้นไปแม้โจทก์จะลงนามในหนังสือลาออกก็ไม่ทำให้การเลิกจ้างของจำเลยก่อนหน้าสิ้นผลผูกพัน ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยตามหนังสือขอลาออกดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนเพื่อระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันที่โจทก์จะไม่ดำเนินคดีอาญาจำเลยฐานยักยอกส่วนที่จำเลยทำหนังสือขอลาออกให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ข้อตกลงตามหนังสือขอลาออกเอกสารหมาย ล.6 นั้นมีผลใช้บังคับได้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิ์เรียกร้องเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)
www.paiboonniti.com