คำพิพากษาฎีกาที่ 3628/2552

นายวรรนพ                                                    –  โจทก์

ธนาคารกรุง  จำกัด (มหาชน)                     –  จำเลย

เรื่อง       1. ลูกจ้างลาออกงาน ร้องขอให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการผ่านงาน นายจ้างไม่ยอมออกหนังสือให้ขัดต่อกฎหมายหรือไม่

2. ฟ้องเรียกเงินค่าเสียหายที่ไม่ออกใบผ่านงานได้หรือไม่เพียงใด

3. ลูกจ้างขอลาออก นายจ้างต้องอนุมัติไหม

4. ใบผ่านงานมีรูปร่างอย่างไร

  1. โจทก์ฟ้องว่า เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ครั้งสุดท้ายทำงานในตำแหน่งสมุห์บัญชี ประจำสาขา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540  โจทก์ได้มีหนังสือขอลาออกเพื่อทำไปทำงานกับธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน)  โดยมีผลสิ้นสุดการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ 16  เมษายน 2540  เป็นต้นไป  หลังจากนั้นโจทก์ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการประจำสาขา อิมพีเรียลบางนา  โดยกำหนดระยะเวลาให้โจทก์จัดส่งหนังสือรับรองการผ่านงานก่อนบรรจุโจทก์เป็นพนักงานประจำ  แต่จำเลยออกหนังสือย้อนหลังไม่อนุมัติให้โจทก์ลาออก และสั่งพักงานโจทก์  การที่จำเลยถ่วงเวลา  ออกใบสำคัญแสดงการทำงานและไม่อนุมัติให้โจทก์ลาออกจากงาน  ทำให้ธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) ปฏิเสธไม่รับโจทก์เข้าทำงานและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายรวม เป็นเงิน 9,274,450.00 บาท  ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
  2. จำเลยให้การว่าลูกค้าของจำเลย สาขาโอลิมเปียไทยทาวเวอร์แจ้งว่า เช็คของบริษัทจำนวน 3 ฉบับ  เงิน  1,920,000.00 บาท  ถูกลักไป  แล้วนำมาขึ้นเงินจากจำเลย  ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ร่วมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวด้วย  จำเลยเห็นว่าโจทก์น่าจะมีส่วนร่วมรับผิดในกรณีนี้ด้วย จึงมีคำสั่งไม่อนุมัติให้โจทก์ลาออก โจทก์จึง ไม่มีสิทธิ์ที่จะร้องขอให้จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงาน โจทก์ฟ้องดีนี้เมื่อ วันที่ 24  มีนาคม 2542 พ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทราบเหตุดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องคดี  ขอให้ยกฟ้อง
  3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 50,000.00 บาท แก่โจกท์พร้อมดอกเบี้ย  7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์  คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย
  4. โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหากจากการขาดรายได้ โดยขอค่าเสียหายเป็น 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 เป็นเงิน 701,450.00 บาท ช่วงที่ 2 ค่าเสียหายในอนาคต เป็นเงิน 2,286,000.00 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายเฉพาะช่วงที่  2 ให้โจทก์แล้วเป็นเงิน 50,000.00 บาท ถือว่าศาลแรงงานใช้ดุลพินิจไม่กำหนดค่าเสียหายช่วงที่ 1 ให้แก่โจทก์ ศาลแรงงานกลางไม่ได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
  5. พิพากษายืน

———————————————————

รวบรวมโดย นายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น

www.pbnitico@ksc.th.com       C.94