คำพิพากษาฎีกาที่ 14420-14423/2553

นายศักดิ์ธณัช วิชาพานิช ที่ 1กับพวกรวม 4 คน โจทก์

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจฯ จำกัด จำเลย

เรื่อง(1.)การเปลี่ยนตัวนายจ้างหากลูกจ้างไม่ยินยอม ทำได้หรือไม่
(2.)ถ้าลูกจ้างไม่ยอมแล้วเลิกจ้างผลจะเป็นอย่างไร
(3.)วิธีโอนลูกจ้างไปทำงานในบริษัทในเครือทำอย่างไร
(4.)หนังสือรับรองการทำงานควรมีข้อความอย่างไร
(5.)ฟ้องเรียกเงินเพิ่มจะฟ้องจากเงินอะไรบ้าง

1.โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยเดิมใช้ชื่อว่าบริษัท ซีนิธฯ จำกัด ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2549
จำเลยได้มีหนังสือให้โจทก์ทั้งสี่ไปทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทนำยุค จำกัด และบริษัทป้อมทิพย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลย และให้โจทก์ทั้งสี่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท นำยุค จำกัด และบริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด ซึ่งทำให้สิทธิประโยชน์ต่างๆที่โจทก์ทั้งสี่เคยได้รับลดลงอันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง โจทก์ทั้งสี่ไม่ยินยอมตกลงด้วย ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2549 จำเลยได้มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ตกลงยินยอมที่จะทำการโอนย้ายเปลี่ยนแปลงสถานภาพการเป็นพนักงานตามคำสั่งของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าประกันภัยรถยนต์ เงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วัน ค่ารักษาพยาบาลที่ค้างชำระ และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จและให้จำเลยออกหนังสือรับรองการเป็นพนักงานของโจทก์ทั้งสี่ให้แก่โจทก์ทั้งสี่

2.จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสี่เคยเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่เมื่อวันที่ 31
ธันวาคม 2549 โจทก์ทั้งสี่ได้รับค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเงินเพิ่มและดอกเบี้ยของเงินจำนวนดังกล่าว การโอนย้ายเป็นอำนาจบริหารและการจัดการโดยชอบของนายจ้าง พนักงานที่ถูกย้ายยังคงได้รับเงินเดือนและตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิม ไม่ใช่เป็นการกลั่นแกล้งโยกย้ายจึงไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง นายจ้างก็ชอบที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายรวมถึงดอกเบี้ยต่างๆอีกด้วย ขอให้ยกฟ้อง

3.ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน
365,000 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 702,000 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 56,000 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 311,645.63 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่ คำขออื่นให้ยก

4.ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อบริษัทนำยุค จำกัดและบริษัทป้อมทิพย์ จำกัดเป็นนิติบุคคล
แยกต่างหากจากจำเลย การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสั่งโอนย้ายโจทก์ทั้งสี่จากบริษัทจำเลยไปทำงานที่ บริษัทนำยุค จำกัด และบริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด จึงเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้างไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ยินยอมไปทำงานที่บริษัท นำยุค จำกัด และบริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดยโจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ มาตรา 49

5.พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)
www.paiboonniti.com

1. โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยเดิมใช้ชื่อว่าบริษัท ซีนิธฯ จำกัด ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2549

5

8

7

6

4

3

2

1

จำเลยได้มีหนังสือให้โจทก์ทั้งสี่ไปทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทนำยุค จำกัด และบริษัทป้อมทิพย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลย และให้โจทก์ทั้งสี่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท นำยุค จำกัด และบริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด ซึ่งทำให้สิทธิประโยชน์ต่างๆที่โจทก์ทั้งสี่เคยได้รับลดลงอันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง โจทก์ทั้งสี่ไม่ยินยอมตกลงด้วย ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2549 จำเลยได้มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ตกลงยินยอมที่จะทำการโอนย้ายเปลี่ยนแปลงสถานภาพการเป็นพนักงานตามคำสั่งของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าประกันภัยรถยนต์ เงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วัน ค่ารักษาพยาบาลที่ค้างชำระ และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จและให้จำเลยออกหนังสือรับรองการเป็นพนักงานของโจทก์ทั้งสี่ให้แก่โจทก์ทั้งสี่

2. จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสี่เคยเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่เมื่อวันที่ 31

ธันวาคม 2549 โจทก์ทั้งสี่ได้รับค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเงินเพิ่มและดอกเบี้ยของเงินจำนวนดังกล่าว การโอนย้ายเป็นอำนาจบริหารและการจัดการโดยชอบของนายจ้าง พนักงานที่ถูกย้ายยังคงได้รับเงินเดือนและตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิม ไม่ใช่เป็นการกลั่นแกล้งโยกย้ายจึงไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง นายจ้างก็ชอบที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายรวมถึงดอกเบี้ยต่างๆอีกด้วย ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน

365,000 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 702,000 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 56,000 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 311,645.63 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่ คำขออื่นให้ยก

4. ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อบริษัทนำยุค จำกัดและบริษัทป้อมทิพย์ จำกัดเป็นนิติบุคคล

แยกต่างหากจากจำเลย การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสั่งโอนย้ายโจทก์ทั้งสี่จากบริษัทจำเลยไปทำงานที่ บริษัทนำยุค จำกัด และบริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด จึงเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้างไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ยินยอมไปทำงานที่บริษัท นำยุค จำกัด และบริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดยโจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ มาตรา 49

5. พิพากษายืน