คำพิพากษาฎีกาที่ 6779/2554

นายจิตต์ภิรมย์ มโนมัธย์ โจทก์

บริษัทไทยฮิตาชิลวดอาบน้ำยา จำกัด จำเลย
เรื่อง 1.การควบคุมคลังสินค้าทำอย่างไร
2.ขั้นตอนการเรียกเก็บเงินจากลูกค้ามีขั้นตอนอย่างไร
3.การมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบทำอย่างไร

1.คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า เมื่อปี 2523 จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งสุดท้ายเป็นกรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 102,506 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2543 จำเลยเลิกจ้างโจทก์อ้างว่า ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่เป็นความจริงจำเลยเลิกจ้างโจทก์มิได้กระทำความผิด และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เรียกค่าเสียหาย 30.0 ล้านบาท ค่าชดเชย 1.025 ล้านบาท และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 105,923 บาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5.6 แสนบาท

2.จำเลยให้การ และ ฟ้องแย้งว่า จำเลย ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายลวดทองแดงอาบน้ำยา จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2524 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการทั่วไปส่วนการขายและการตลาด ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 102,306 บาท มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลและบริหารงานฝ่ายขายและการตลาด รวมทั้งบริหารงาน กำกับดูแลแผนกคลังสินค้าและจัดส่ง แผนกบรรจุหีบห่อ อนุมัติการขายสินค้า การนำสินค้าออกจากบริษัท การออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ใบกำกับสินค้าหายไป 40 ใบ สินค้าหายไป ไม่ส่งใบส่งของให้บัญชีเก็บเงิน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 1.0 ล้านบาท หรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ขอให้ยกฟ้องและบังคับคดีให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย

3.โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้องแย้ง

4.ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย คำขออื่นให้ยก และยกฟ้องแย้ง

5.โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

6.ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิจารณาแล้ว พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์แล้วให้ศาลแรงงานกลางพิจารณากำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยตามฟ้องแย้งแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลย

7.โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

8.ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองว่า การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลย 300,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องแย้ง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาสืบเนื่องมาจากการที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวได้พิจารณาพิพากษาในข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังยุติไปแล้ว แต่ศาลฎีกากลับมิได้ถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยมา คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 และมาตรา 56 วรรคสอง เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ล้วนแต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

9.พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)

www.paiboonniti.com