คำพิพากษาฎีกาที่   9773/2558

นายไพฑูรย์   โจทก์

บริษัทฟรีสแลนด์จำเลย

เรื่อง  กฎหมายและข้อบังคับการทำงานจำเลยระบุให้จ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายหรือเงินบำเหน็จอย่างเดียวแล้วแต่เงินประเภทไหนสูงกว่า และถ้าถือว่าเงินบำเหน็จเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย และได้จ่ายเงินบำเหน็จให้ไปแล้ว จะมาฟ้องเรียกค่าชดเชยอีกได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่   9773/2558

 

นายไพฑูรย์   โจทก์

บริษัทฟรีสแลนด์จำเลย

เรื่อง  กฎหมายและข้อบังคับการทำงานจำเลยระบุให้จ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายหรือเงินบำเหน็จอย่างเดียวแล้วแต่เงินประเภทไหนสูงกว่า และถ้าถือว่าเงินบำเหน็จเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย และได้จ่ายเงินบำเหน็จให้ไปแล้ว จะมาฟ้องเรียกค่าชดเชยอีกได้หรือไม่

1. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ต่อมาวันที่ 26 ธันวาคม 2550 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างเหตุว่าได้ยกเลิกตำแหน่งงานของโจทก์ กฎและข้อบังคับการทำงานจำเลย ที่ระบุให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานหรือเงินบำเหน็จอย่างเดียวแล้วแต่เงินประเภทไหนสูงกว่าและให้ถือว่าเงินบำเหน็จเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าชดเชย

2. จำเลยให้การว่า กฎและข้อบังคับการทำงานของจำเลย หมวด 9 ข้อ 54 ระบุว่าจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานหรือเงินบำเหน็จเพียงอย่างเดียว ซึ่งแล้วแต่เงินประเภทไหนสูงกว่าและให้ถือว่าเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย เมื่อจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์เกินกว่าเงินค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าชดเชยจากจำเลยอีก

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชย

4. ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางหรือไม่ เห็นว่าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกจ้างไม่ได้เป็นฝ่ายกระทำความผิด  เมื่อได้ความว่าระเบียบว่าด้วยสวัสดิการพนักงานของจำเลย ข้อ 2 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า เมื่อสิ้นสุดการจ้างตามหมวด 9 ข้อ 54 หรือลาออก แต่ไม่ใช่การลาออกเพื่อหลีกเลี่ยงการไล่ออกเนื่องจากการกระทำผิด หลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวจ่ายแก่ลูกจ้าง กรณีพ้นสภาพเพราะลาออกด้วยแตกต่างกับหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยที่จ่ายให้แก่เฉพาะลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ทั้งได้กำหนดเงื่อนไขไว้แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการจ่ายค่าชดเชย วิธีการคำนวณเงินบำเหน็จก็แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนว่าเงินบำเหน็จที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินประเภทอื่นที่มิใช่ค่าชดเชยตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ระเบียบว่าด้วยสวัสดิการพนักงานของจำเลยข้อ 2  วรรคสองส่วนท้ายที่กำหนดว่า  “ให้ถือว่าเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย” ก็ไม่มีผลให้เงินบำเหน็จกลับกลายสถานะเป็นค่าชดเชยไปได้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยจะอ้างระเบียบว่าด้วยสวัสดิการพนักงานของจำเลยข้อ 2 วรรคสองว่าจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์แล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอันเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

พิพากษายืน.

Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї Ї

 

รวบรวมโดยนายไพบูลย์  ธรรมสถิตย์มั่น

www.paiboonniti.com