กฎหมายแรงงาน สำหรับผู้บริหารกฎหมายแรงงานสำหรับผู้บริหาร
1. สาระสำคัญของกฎหมายแรงงานที่นายจ้างลูกจ้างและฝ่ายบุคคลต้องรู้
2. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารตามกฎหมายแรงงาน
– การมอบหมายงานในหน้าที่ การให้ช่วยทำงานอื่น หรือให้ช่วยทำงานนอกสถานที่
– การแต่งตั้ง โอน ย้าย
– การออกใบผ่านงาน
– การให้ความดีความชอบ
– การออกค่าเดินทางไป – กลับ
– การบอกเลิกจ้างที่ต้องจ่ายและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้า(กรณีเป็นลูกจ้าง หรือลูกจ้างทดลองงาน)

กฎหมายแรงงานสำหรับผู้บริหาร
1. สาระสำคัญของกฎหมายแรงงานที่นายจ้างลูกจ้างและฝ่ายบุคคลต้องรู้
2. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารตามกฎหมายแรงงาน
– การมอบหมายงานในหน้าที่ การให้ช่วยทำงานอื่น หรือให้ช่วยทำงานนอกสถานที่
– การแต่งตั้ง โอน ย้าย
– การออกใบผ่านงาน
– การให้ความดีความชอบ
– การออกค่าเดินทางไป – กลับ
– การบอกเลิกจ้างที่ต้องจ่ายและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้า(กรณีเป็นลูกจ้าง หรือลูกจ้างทดลองงาน)
– การให้สวัสดิการต่างๆ แก่ลูกจ้างแรงงานตามกฎหมาย
– การรับผิดร่วมกับนายจ้าง
3. การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัย
– หลักเกณฑ์การทำผิดวินัยมีอย่างไร
– เทคนิคการลงโทษที่เหมาะสมถูกต้องตามกฎหมายและให้แรงงานสัมพันธ์มีความราบรื่น
– การลงโทษกรรมการลูกจ้าง
4. กลยุทธ์การจัดการกับพนักงานที่ชอบสร้างปัญหาต่อองค์การ
– ถูกสั่งย้ายไปทำงานอื่น แต่เจ้าตัวปฏิเสธอ้างว่าเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ อ้างแม้ไม่ลดเงินเดือน แต่ลดรายได้ อ้างไม่มีความถนัด อ้างไม่ได้จ้างเข้ามาตำแหน่งนั้นๆ สารพัดจะอ้าง
– ขอลาเรียน ลาสอบบ่อยๆ ทำให้เสียงาน ถ้าไม่ให้ไปก็หาว่าปิดโอกาสความก้าวหน้า
– เป็นผู้บังคับบัญชา แต่ทำตัวไม่เหมาะสม ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกจ้าง เลิกจ้างได้ไหม
– ระเบียบกำหนดให้โทรแจ้งทันทีที่ทำได้ในวันที่ป่วย ลูกจ้างอยู่ในวิสัยที่แจ้งได้แต่ว่าไม่โทรแจ้ง มาทำงานแล้วจึงยื่นใบลาป่วย จะลงโทษได้หรือไม่ ถือว่าขาดงานตัดค่าจ้างได้หรือไม่ ระเบียบการลาที่ดีควรเป็นอย่างไร
– มีปัญหามาก หัวหน้าให้อภัย แต่ให้เขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้า โดยเว้นวันที่ไว้ หากทำผิดอีกลงชื่อให้ลาออกทำได้หรือไม่
– ยื่นใบลาออกแล้ว แต่อ้างว่าไม่สมัครใจออก จะเปลี่ยนใจไม่ลาออกนายจ้างไม่ยอมได้ไหม
– ลูกจ้างป่วยบ่อยมาก จึงกำหนดให้ แสดงใบรับรองแพทย์แม้ลา 1 วัน ทำได้หรือไม่
– ลูกจ้างลาออกล่วงหน้า 30 วัน แต่นายจ้างให้ออกเลย ถือเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ผลจะเป็นอย่างไร
– จะเตรียมเลิกจ้างต้องตรวจดูอะไรบ้าง
– การปัองกันการถูกฟ้องหมิ่นประมาทกรณีเลิกจ้างพนักงาน แล้วพนักงานไม่ผิดตามเหตุเลิกจ้าง
– จะสอบสวนความผิดทำอย่างไรจึงรัดกุม
– ความผิดร้ายแรงมีหลักพิจารณาอย่างไร
– หยุดงานเป็นนิจ โดยอ้างว่าป่วย ลาป่วยเท็จ ไม่อนุญาตให้ลากิจและหยุดงานไป
– มีพฤติกรรมส่อทุจริต ใช้หน้าที่หาประโยชน์ใส่ตน แต่ไม่มีหลักฐานผูกมัด เอางานนอกมาทำ เบิกเงินโดยใช้เอกสารเท็จ
– ชอบพูดจาให้ร้ายบริษัท ทำให้พนักงานอื่นมอง บริษัทในแง่ลบ ปิดประกาศ ยุยงส่งเสริมก้าวร้าวต่อบริษัท
– แอบเล่นการพนันผิดร้ายแรงแค่ใหน
– ตอกบัตรลงเวลาแทนกัน อ้างอย่างไรจึงเลิกจ้างได้
– แกล้งป่วยบ่อยๆ เพื่อให้บริษัทเลิกจ้าง จะเอาค่าชดเชย
– ถูกเตือนหลายครั้งแต่ไม่ซ้ำคำเตือนทำให้เลิกจ้างไม่ได้
– ดื่มสุราเป็นอาจิณคล้ายเป็นพิษสุราเรื้อรัง แต่เมาก็มาทำงาน เมาสุราอาละวาด ดื่มเหล้าก่อนทำ OT
– มีหนี้สินรุงรัง โกงเงินเพื่อน โกงแชร์ เดินโพยหวยใต้ดิน
– ตักเตือนตอนเช้า บ่ายเลิกจ้างเพราะผิดซ้ำทำได้หรือไม่
– ปฏิเสธที่จะร่วมมือในการทำงานล่วงเวลาบ่อยๆ บอกจะทำ OT พอถึงเวลาไม่ยอมมา
– โต้เถียงผู้บังคับบัญชาแบบก้าวร้าวไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังคำสั่ง
– ต้องคดีอาญาต้องสู้คดีกันยาวเป็นปีๆ เลิกจ้างไม่ได้ เพราะยังไม่ถูกสารตัดสินให้จำคุก
– เปิดเผยเงินเดือนให้คนอื่นรู้ ทำให้พนักงานวิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบกัน เกิดความระส่ำระสาย
– พัสดุในความรับผิดชอบหายแต่ว่าไม่มีหลักฐานว่าใครโจรกรรม
– ชกต่อยกันในงานสังสรรค์ซึ่งจัดนอกสถานที่ทำงานผิดร้ายแรงหรือไม่
5. ปัญหาและข้อควรระวังเกี่ยวกับความผิดของนายจ้างผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานกรณีต่างๆ และการฟ้องร้องและการดำเนินคดีแรงงาน
6. การบริหารจัดการพนักงาน OUTSOURC สำหรับผู้บริหารหรือหัวหน้างาน
– ข้อกฎหมาย
– มาตรา 11/1
– ความรับผิดชอบของผู้บริหาร
7. กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องล่าสุด
8. ถาม – ตอบ
– เปิดให้ซักถามปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นจริง