คำพิพากษาฎีกาที่ 7753 7772/2553

นายบรรยงค์ ไชยสะอาด กับพวกรวม 20 คน โจทก์

บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ที่ 1 จำเลย

ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คัมปะนี (กรุ๊ป) ที่ 2

กิจการร่วมค้าเชค ที่ 3

เรื่อง 1. สัญญาจ้างแรงงานมีผลวันสัมภาษณ์ หรือวันลงนาม

2. ทำงานก่อสร้างวันละ 9 ชั่วโมง เป็นการทำงานล่วงเวลา 1 ชั่วโมง

3. ฟ้องค่าล่วงเวลาย้อนหลังได้กี่ปี

4. เงินค่าล่วงเวลาค้างจ่ายฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วันได้ไหม

5. ค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายได้ไหม

6. การขอความยินยอมเป็นครั้งคราวในการทำงานล่วงเวลามีลักษณะอย่างไร

1. โจทก์ทั้งยี่สิบสำนวนฟ้องว่า จำเลยทั้ง 3 ดำเนินกิจการรับเหมาช่วงงานโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี สุขสวัสดิ์ จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำการแทนในกิจการทางการค้าดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงถือเป็นการให้โจทก์ทั้งยี่สิบทำงานเกินเวลาปกติวันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ทุกวันทำงาน โดยจำเลยทั้งสามไม่ยอมจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ โจทก์ขอฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาย้อนหลังตั้งแต่ 1 ธ.ค. 47 จนถึงวันฟ้องและฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วัน ของเงินค่าล่วงเวลาของโจทก์แต่ละคน

2. จำเลยทั้งสามให้การว่า ค่าจ้างสุดท้ายของโจทก์แต่ละคนมิได้เป็นไปตามที่ระบุในคำฟ้องอีกทั้งในการคำนวณค่าล่วงเวลาตามฟ้อง ใช้อัตราค่าจ้างในช่วงวันเดือนปีที่กล่าวอ้างว่ามีสิทธิ มิใช่ฐานอัตราค่าจ้างสุดท้าย การคำนวณค่าล่วงเวลาจะต้องพิจารณาตามบัตรตอกลงเวลา อายุความที่ฟ้องเกิน 2 ปี โจทก์ทำสัญญาจ้างว่ามีอัตราค่าจ้างและค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายต่อเดือน เพราะเป็นงานโครงการก่อสร้างทางพิเศษ จำเลยจะไปขอความยินยอมทำงานล่วงเวลาเป็นครั้งคราวก็อาจเกิดปัญหาทางปฏิบัติ โจทก์ลงนามในสัญญาจ้างถือว่าให้ความยินยอมทำงานล่วงเวลาแล้ว หากโจทก์ไม่ทำงานล่วงเวลาก็แจ้งขออนุมัติเป็นกรณีไป ขอยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานพิพากษายกฟ้องโจทก์ทุกคน

4. โจทก์ทั้งยี่สิบอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่า สัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันกันเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นับตั้งแต่วันสัมภาษณ์งานและเรียกให้มาทำงานวันแรกแล้ว เนื่องจากเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 มิใช่ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกให้โจทก์ทั้งยี่สิบไปลงนามในสัญญาจ้างแรงงาน

5. โจทก์ฟ้องว่าสัญญาจ้างแรงงานขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เห็นว่าตามสัญญาจ้างแรงงานมีการแยกค่าจ้างหลักและค่าล่วงเวลาออกจากกัน โจทก์ทั้งยี่สิบลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวด้วยความสมัครใจ แถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันว่าค่าล่วงเวลาที่กำหนดในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวเป็นการจ่ายเงินตามการคำนวณค่าล่วงเวลาในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า กรณีมิใช่เป็นการตกลงทำนองลูกจ้างสละสิทธิในค่าล่วงเวลา จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

6. พิพากษายืน

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/15)
www.paiboonniti.com