คำพิพากษาฎีกาที่ 9747-9748/2554

นางสาวสุข นามเดช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน โจทก์

บริษัทมั่นชัย แมชชินเนอรี่ จำกัด จำเลย

เรื่อง พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ได้พูดไล่โจทก์ ออกจากงานโดยจงใจเลิกจ้างในขณะที่กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยอยู่ในเหตุการณ์แต่ไม่มีการห้ามและโต้แย้ง ถือว่าจำเลยให้กระทำแทน ในฐานะตัวแทนนายจ้าง ในการบอกเลิกจ้างหรือไม่

1.โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยรับโจทก์ทั้งสองเข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งสุดท้ายพนักงานฝ่ายผลิต อัตราค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท และ 28,000 บาท ตามลำดับ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า

2.จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 โจทก์ที่ 1 ทะเลาะวิวาทกับนายเกรียงไกร พนักงานด้วยกัน แล้วออกจากบริษัทโดยไม่ได้ขออนุญาต ไปแจ้งความนำเจ้าพนักงานตำรวจไปที่บริษัท ส่งเสียงเอะอะโวยวายในสำนักงานของจำเลยในขณะที่มีลูกค้าของจำเลยอยู่ด้วยกรรมการจำเลยบอกให้ออกไปข้างนอก แต่หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสองทิ้งงานไป ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายไม่สามารถผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้ทันถูกปรับเป็นเงิน 100,000 บาท ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองจ่ายค่าเสียหายให้แก่จำเลยจำนวน 100,000 บาท

3.โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าจำเลยไล่โจทก์ทั้งสองออกจากงานโดยไม่ทราบสาเหตุและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายให้แก่จำเลย

4.ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 1 แก่โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้อง

5.ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีกรรมการ 2 คน คือนางอาภรณ์ และนายชาญกิจ ต้องลงลายมือชื่อร่วมกันพร้อมประทับตราสำคัญจึงจะผูกผัน บริษัท นายหลักชัย เป็นบุตรของนางอาภรณ์และเป็นน้องของนายชาญกิจ มีหน้าที่ดูแลงานในบริษัทจำเลยหลายฝ่ายรวมทั้งฝ่ายบุคคล วันที่ 18 ธันวาคม 2549 โจทก์ที่ 1 มีเรื่องทะเลาวิวาทกับนายเกรียงไกร พนักงานของจำเลย โจทก์ที่ 1 ไปแจ้งความแล้วโจทก์ทั้งสองนำเจ้าหนักงานตำรวจไปที่บริษัทจำเลยเพื่อเชิญนายเกรียงไกรไปที่สถานีตำรวจ นายหลักชัยไกลเกลี่ยแล้ว จนเกิดการโต้เถียงกันระหว่างนายหลักชัยกับโจทก์ที่ 1 ต่อหน้านายอาภรณ์ในสำนักงานของจำเลยซึ่งเป็นที่ติดต่อของลูกค้าจำเลย นายหลักชัยพูดไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากงานโดยจงใจเลิกจ้างในขณะที่นางอาภรณ์อยู่ในเหตุการณ์แต่ไม่ห้ามหรือโต้แย้งพฤติการณ์ถือได้ว่านายหลักชัยได้รับมอบจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทนจึงถือได้ว่านายหลักชัยเป็นนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้าง โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภรรยาและปฏิบัติงานในหน้าที่เดียวกัน โจทก์ที่ 2 อยู่ในเหตุการณ์ด้วยโดยตลอด พฤติการณ์ถือได้ว่าจงใจเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 เมื่อโจทก์ทั้งสองปกครองยาก ไม่เอาใจใส่ต่อการลา การหยุดงาน ได้ถูกตักเตือนแล้วการเลิกจ้างเป็นอำนาจของนายชาญกิจและนางอาภรณ์เท่านั้น นายหลักชัยกล่าวไล่โจทก์ที่ 1 ว่าออกไปออกไปมิได้หมายความว่า ไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากงานแต่เป็นเพียงให้โจทก์ที่ 1 ออกไปจากสำนักงาน โจทก์ที่ 1 ไม่กลับไปทำงานอีกถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ ส่วนโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุทะเลาะวิวาท โจทก์ที่ 2 ไปแจ้งความด้วยในระหว่างปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ลาหรือขออนุญาต ต่อมาไม่ยอมกลับเข้าไปทำงาน ทางจำเลยจะตามให้กลับไปทำงานก็ไม่ไป แสดงว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 นั้นเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางทั้งสิ้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

6.พิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย

รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/43)

www.paiboonniti.com