คำพิพากษาฎีกาที่ 3953/2561 (คดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน)

เรื่อง      นายจ้างประกอบกิจการขายสินค้าและบริการผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ลูกจ้างโพสข้อความผ่านระบบโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เช่น มีชะนี เป้าต่ำเตี้ยเรี่ยดิน วัน ๆ ไม่ทำห่าไรแดกเงินเดือนฟรี ๆ ทุก ๆ เดือน  หัวหรือท้ายที่คิดมาไม่ดี กูงง”  เป็นความผิดร้ายแรง และเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

1.คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการฝ่ายขายค่าจ้างเดือนละ 110,000 บาท ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2557 จำเลยที่ 2 มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ ต่อมาวันที่ 11 ธันวาคม 2557 โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยที่ 1 พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่สิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีการเรียกโจทก์ไปสอบสวนหรือชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ แต่นำข้อความเกือบทั้งหมดของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างมาสามารถอ้างเหตุเลิกจ้างนอกจากเหตุในหนังสือเลิกจ้างได้ ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย

2.ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย มีหน้าที่กำกับดูแลพนักงานในฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ประเภทบริการ (Daily Deal หรือชื่อย่อ DD) จำเลยประกอบกิจการขายสินค้าและบริการผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ให้บริการด้านการตลาดและให้คำปรึกษาด้านการสื่อสารดิจิทัล (ดิจิทัลเชิงเลข) จำเลยที่ 2 แต่งตั้งนางสาว จ. เป็นปผู้จัดการทั่วไปฝ่าย DD ตั้งแต่วันที่ 1-15 ตุลาคม 2557 ผู้จัดการฝ่าย DD มีแนวโน้มที่จะย้ายไปทำงานที่สาขาต่างประเทศ โจทก์ประกาศในสื่อดิจิทัล (สิ่ออิเล็กทรอนิกส์) นระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบบไกพ (Skype) ไลน์ (Line) เฟชบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) ดันนี้คือ

1.อุ๊ยได้อำนาจ 33.33% เหมือนได้คายขี้เกียจไถนา 3 ตัว เชื่อกูสิ (จำเลยที่ 2 มีหนังสือเตือนลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2556)

2.แน่จริง พูดต่อหน้า หลาย ๆ คนรอฟัง หรือไม่ก็เก็บปากไปทำงาน วัน ๆ ไม่ทำห่าไร แดกเงินเดือนฟรี ๆ ทุก ๆ เดือน จ้างมาทำงาน ไม่ได้จ้างมานั่งคุยโทรศัพท์กะผัว สมองไม่มี

3.ใครรับผิดชอบ TARGET ชั้นเดือนนี้ว่ะ แบ่งแบบไม่คิด ทีตอนนั้นยังเปลี่ยน TARGET ลูกน้องฉันขยับเพิ่มขึ้นได้เลย DATA สำคัญเสมอ ถ้าใช้เป็น

4.แปลจากภาษาอังกฤษว่า ฉันไม่เข้าใจของภาพลวงตา อย่างไร คือ ความฉลาดและไม่ฉลาดการทำงานที่ได้ผลสำเร็จสูงสุดต้องมีทีมงาน

5.ใครอยากให้เธอคุมดีดี DD ดีออก มีชะนีเป้าต่ำเตี่ยเรี่ยดิน เทียวไปโพนทะนากับแผนอื่นว่าน้อง ๆ อยากให้คุมทีม แต่เคยถามคนที่อยากให้คุมนะคะ เดี๋ยวหน้าหงาย

6.งง ๆ งวย ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ได้แปลว่า รับได้บ่อย ๆ เปลี่ยนบ่อย ๆ หัวหรือท้ายที่คิดมาไม่ดี กูงง การบริหารจัดการที่ไม่ฉลาด

7….(อวัยวะเพศสุนัขตัวเมีย) ยังกว้างกว่าใจเธอ

3.ศาลแรงงานพิจารณาว่า คำว่า “เธอ และ ชนี” ที่โจทก์โพสต์ลงโซเชียลเน็ตเวิร์กหมายถึงนาง จ. ส่วนคำว่า “หัว” มีความหมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ และการโพสต์ข้อความลงโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นโปรแกรมที่โจทก์ประกาศสื่ออิเลืกทรอนิกส์ซึ่งบุคคลทั่วไป ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และพนักงานของจำเลยที่ 2 ดูได้อิสระ การลงข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทอันเป็นความผิดอาญานอกจากนี้นาย ว. มีหนังสือเตือนโจทก์แล้ว การกระทำของโจทก์ย่อมมีผลทำให้การทำงานของพนักงาจด้อยประสิทธิภาพ ส่งผลต่อธุรกิจทำให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือผู้ติดต่อธุรกิจเกิดความสงสัยละไม่มั่นใจในการบริการของจำเลยที่ 2 ว่า จะเกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการใช้บริการหรือติดต่อธุรกิจกับจำเลยที่ 2 หรือไม่ อันอาจส่งผลต่อประกอบการในทางลบ จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต กรณีไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องผิดซ้ำคำเตือนเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย พิพากษายกฟ้องโจทก์ อุทธรณ์

4.ศาลฎีกาเห็นว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การโพสต์ข้อความเป็นโปรแกรมส่วนตัวของโจทก์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อความปลุกปั่นจึงไม่ก่อให้เกิดความสียหาย จำเลยที่ 1 วินิจฉัยและมีคำสั่งว่า โจทก์กระทำความผิดอาญาต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเกินไปกว่าเหตุในหนังสือเลิกจ้าง คำว่า “ชนี” หมายถึงหญิงแท้ ๆ หรือผู้หญิงทั่วไป ไม่ได้หมายถึงผู้หญิงไม่ดี คำเบิกความของพยานแตกต่างในสาระสำคัญในชั้นพนักงานตรวจแรงงานและชั้นพิจารณาของศาล…ข้ออ้างในอุทธรณ์โจทก์เป็นเรื่องคัดค้านคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งฯ มาตรา 31 ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นเป็นอุทธรณ์ที่อ้างพยานบุคคลมาตีความการกระทำของโจทก์ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจักตั้งฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง กล่าวโดยสรุป อุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้องต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมานั้นเป็นการไม่ชอบ พิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์ ฎีกาแรงงาน

———————————————