คำพิพากษาฎีกาที่ 1195/2551

นายสนั่น                                                                     – โจทก์

บริษัท ไทย จำกัด (มหาชน)                                     – จำเลย

เรื่อง          1. ค่าชดเชยที่จ่ายให้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาท จำเลยจะหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่

2. บัตรเติมน้ำมันแทนเงินสดเดือนละ 7,500.00 บาท เป็นค่าจ้างหรือไม่

3. สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาคืออะไร

4. เมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดไม่เลิกสัญญาผลจะเป็นอย่งไร

5. ข้อดีของการทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาคืออะไร

6.  อายุงานครบ 20 ปี จ่าย  400 วัน จะหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่

  1.      โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยในตำแหน่งพนักงานแรงงานสัมพันธ์ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 ต่อมาจำเลยได้บอกเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิด โจทก์ได้ค่าจ้างเดือนละ 65,000.00 บาท บัตรเติมน้ำมันแทนเงินสด 7,500.00 บาท            จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่บอกเลิกจ้าง 31 ตุลาคม 2548 ขอให้จ่ายค่าจ้างค้าง 72,500.00 บาท ค่าชดเชย 217,500.00 บาท  ค่าวันหยุดพักผ่อน 16,500.00 บาท  ค่าบอกกล่าว 72,500.00 บาท  ค่าเสียหาย 880,000.00 บาท
  2. จำเลยให้การว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นที่ปรึกษาทางด้านแรงงานสัมพันธ์ มีกำหนดระยะเวลาของสัญญาแน่นอน 1 ปี  ซึ่งเป็นวันครบกำหนดสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย  จำเลยแจ้งโจทก์ว่าไม่ ประสงค์ต่อสัญญากับโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
  3. ศาลแรงงนกลางพิพากษา จำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไปหลังวันที่ 30 กันยายน 2548  ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน เป็นการต่อสัญญาจ้างแรงงานออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา  จำเลยเจตนาไม่ต่ออายุสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญา  แต่ด้วยความบกพร่องของจำเลยเองทำให้การแจ้งไม่ต่อสัญญาหรือบอกเลิกสัญญาล่าช้า พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค่างจ่าย 65,000.00 บาท  ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี 13,000.00 บาท  ค่าชดเชยส่วนที่ขาด 19,500.00 บาท สินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้า 65,000.00 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ฃ
  4. ศาลฎีกา จำเลยอุทธรณ์ประการสุดท้ายว่า  จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันแล้ว แต่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย  จำนวน 19,500.00 บาท แล้วจ่ายส่วนที่เหลือ 175,000.00 บาท แก่โจทก์  การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เพิ่มอีก 19,500.00 บาท จึงไม่ชอบนั้น ค่าชดเชย ที่จำเลยให้ให้โจทก์เมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 118 (2)  ซึ่งเป็นค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายและไม่เกินสามแสนบาทจึงเป็นเงินได้พึ่งประเมินที่โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (17) บัญญัติว่า “ให้เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกระทรวงการคลังเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง 217 (2542)  ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรข้อ 2 (51) ระบุให้ค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะ      เหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างทั้งนี้เฉพาะค่าชดเชย  ส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกินสามแสนบาท  จึงได้รับการยกเว้นภาษี
  5. พิพากษายืน

———————————————————

 

รวบรวมโดย นายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น

www.pbnitico@ksc.th.com

C.94