นายดำและนายแดงเป็นลูกจ้างของบริษัทเขียวเกษตร จำกัด ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2554 ในระหว่างเวลาทำงาน นายดำออกไปทำธุระนอกที่ทำงานโดยมิได้ลากิจให้ถูกต้อง บริษัท เขียวเกษตร จำกัด มีหนังสือเตือนนายดำในการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว หนังสือเตือนลงวันที่ 30 มกราคม 2554 ต่อมานายดำไม่ไปทำงานวันที่ 20 และ 21 มกราคม 2554 โดยไม่ได้แจ้งให้หัวหน้าทราบ แต่ในวันที่ 22 มกราคม 2554 นายดำมาทำงานปกติอ้างว่าที่ไม่มาทำงานเพราะปวดท้อง ขอลาป่วย แต่ไม่ยื่นหนังสือลาป่วยและไม่มีใบรับรองของแพทย์ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ส่วนนายแดงไม่พอใจนายจันทร์ซึ่งเป็นหัวหน้างานที่นำเรื่องการกระทำความผิดของนายดำไปฟ้องผู้จัดการบริษัทเขียวเกษตร จำกัด จึงไปต่อว่าและร้องตะโกนด่านายจันทร์ต่อหน้าลูกจ้างคนอื่นๆ ผู้จัดการเรียกนายแดงมาพบ นายแดงได้ขอโทษเรื่องอารมณ์ร้อนและขอขมาโทษต่อนายจันทร์ และได้ทำหนังสือยอมรับผิดมีข้อความว่า นายแดงรับว่าได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท จะปรับปรุงแก้ไขตนเองไม่กระทำความดังกล่าวอีก หนังสือยอมรับผิดของนายแดงลงวันที่ 30 มกราคม 2554 ผู้จัดการรับหนังสือยอมรับผิดของนายแดงไว้และมีคำสั่งย้ายนายแดงไปทำงานแผนกอื่นแทน หลังจากย้ายแผนกทำงานได้ 10 เดือน นายแดงก็เกิดเหตุโต้เถียงกับนายอังคารซึ่งเป็นหัวหน้างานคนใหม่และร้องตะโกนด่าทอนายอังคารต่อหน้าลูกจ้างคนอื่นๆอีก
ให้วินิจฉัยว่า บริษัทเขียวเกษตร จำกัด จะเลิกจ้างนายดำและนายแดงโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิด
กรณีของนายดำ การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรกเป็นเรื่องลากิจไม่ถูกต้อง ส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งหลังเป็นเรื่องลาป่วยไม่ถูกต้อง เป็นคนละเรื่องกัน การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายดำครั้งหลัง จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน นอกจากนี้หนังสือเตือนในการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรกของนายดำก็สิ้นผลบังคับไปแล้ว เพราะหนังสือเตือนมีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด มิใช่นับแต่วันที่นายจ้างออกหนังสือเตือน บริษัทเขียวเกษตร จำกัด จะเลิกจ้างนายดำโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 6910/2546)
กรณีของนายแดง แม้การที่นายแดงร้องตะโกนด่านายจันทร์และนายอังคารจะเป็นการกระทำต่อหัวหน้างานคนละคนกัน แต่ก็เป็นการกระทำผิดในเหตุเดียวกัน การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายแดงครั้งหลังเป็นการกระทำผิดซ้ำกับการกระทำครั้งแรก แต่หนังสือยินยอมรับผิดของนายแดงที่รับว่า นายแดงได้กระทำผิดและจะปรับปรุงแก้ไขตนเอง จะไม่กระทำผิดอีกนั้น มิใช่หนังสือเตือนของนายจ้าง ดังนั้นแม้นายแดงจะกระทำผิดครั้งหลังภายใน 1 ปี ก็ตาม ก็ไม่ถือว่านายแดงกระทำผิดซ้ำคำเตือน ฉะนั้น บริษัทเขียวเกษตร จำกัด จะเลิกจ้างนายแดงโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้เช่นเดียวกัน(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 7353/2544)


งคำตอบ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิด

กรณีของนายดำ การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรกเป็นเรื่องลากิจไม่ถูกต้อง ส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งหลังเป็นเรื่องลาป่วยไม่ถูกต้อง เป็นคนละเรื่องกัน การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายดำครั้งหลัง จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน นอกจากนี้หนังสือเตือนในการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรกของนายดำก็สิ้นผลบังคับไปแล้ว เพราะหนังสือเตือนมีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด มิใช่นับแต่วันที่นายจ้างออกหนังสือเตือน บริษัทเขียวเกษตร จำกัด จะเลิกจ้างนายดำโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 6910/2546)

กรณีของนายแดง แม้การที่นายแดงร้องตะโกนด่านายจันทร์และนายอังคารจะเป็นการกระทำต่อหัวหน้างานคนละคนกัน แต่ก็เป็นการกระทำผิดในเหตุเดียวกัน การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายแดงครั้งหลังเป็นการกระทำผิดซ้ำกับการกระทำครั้งแรก แต่หนังสือยินยอมรับผิดของนายแดงที่รับว่า นายแดงได้กระทำผิดและจะปรับปรุงแก้ไขตนเอง จะไม่กระทำผิดอีกนั้น มิใช่หนังสือเตือนของนายจ้าง ดังนั้นแม้นายแดงจะกระทำผิดครั้งหลังภายใน 1 ปี ก็ตาม ก็ไม่ถือว่านายแดงกระทำผิดซ้ำคำเตือน ฉะนั้น บริษัทเขียวเกษตร จำกัด จะเลิกจ้างนายแดงโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้เช่นเดียวกัน(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 7353/2544)